color

Tag: color

ใช้ HSL แทน RGB หรือ HEX กันไหม

ตั้งแต่สมัยพระเจ้าสามหำ สีทั้งสองโพรไฟล์นั้นสร้างมาเพื่อให้นักพัฒนาเอาไว้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ไม่ได้ต้องการเน้นให้คนอ่านรู้เรื่องมากนัก เหล่านักวิจัยคอมพิวเตอร์กราฟฟิคจึงสุมหัวและหยุมหัวกันตั้งแต่ปี 1970 พัฒนาระบบสีที่เอามาใช้ข้างเคียงกับ RGB ไม่ใช่เอามาทดแทน

การใช้งาน Layering Multiple Background Images

สวัสดีพี่น้องชาว ThaiCSS ผู้รักสนุกทุกท่านครับหลังจากหายหัวหนีไปปั่นจักรยานอยู่พักใหญ่ วันนี้ได้ฤกษ์ปล่อยบทความที่ตั้งใจจะเขียนซักทีถือว่าเป็นบทความก่อนลาไปอุปสมบทแล้วกันนะครับ วันนี้ผมจะมาแนะนำการใช้งาน “Layering Multiple Background Images” หรือการใช้งาน Background แบบหลายเลเยอร์นั่นเอง

Layering Multiple Background Images นั้นเป็นความสามารถที่ถูกเพิ่มเข้ามาใน CSS3 โดยความสามารถนี้จะทำให้เว็บดีไซน์เนอร์ทำงานกับ Background ได้ยืดหยุ่นมากขึ้น สำหรับการใช้งานนั้นเพียงใช้เครื่องหมาย comma-separated(,) หรือเครื่องหมายจุลภาค คั่นระหว่างแต่ละ Background ที่ต้องการเรียกใช้โดยคำสั่งที่อยู่แรกจะเป็นตำแหน่งเลเยอร์บนสุด และเรียงลำดับลงไปเรื่อยๆ

CSS3 Background และ IE9 ร้อนๆ

ตัวอย่าง css3 background

IE9 พี่ท่านมาแล้ว ถึงแม้ยังขาดตก บกพร่อง ก็ยังดีกว่าไม่มา ใครที่อยากจะลองของแปลก เชิญอัพเดทจาก IE8 ไปเป็น IE9 ได้ที่ www.beautyoftheweb.com เลยครับ ส่วนผม อัพเดทไปเรียบร้อยแล้ว เพื่อที่จะเอามาลองเล่นของ ซึ่งถือว่าไม่ได้เลวร้ายไปจากที่คาดการณ์กันเท่าไหร่นัก ส่วนที่เลวร้ายกว่านั้นในความรู้สึกของผมคือ ความเหินห่างจากบราวเซอร์โลโก้ ตัว อี สีฟ้าๆ น้ำเงินๆ ตัวนี้มานานหลายปีนั่นเองที่ทำให้เกิดความไม่อยากใช้งาน แม้กระทั่ง แทบไม่ได้ใช้เข้า ThaiCSS จนเกิดอาการคนใช้ IE เข้า ThaiCSS ไม่ได้มาเป็นเดือนๆ เพราะผมแยก Theme เอาไว้แล้วลืมอัพโหลดไฟล์ template เข้าไปยัง Theme ของ IE 1 ไฟล์ จึงเกิดอาการ หน้าขาวเกิดขึ้น ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยขอรับ

กลับมาที่เรื่องราว CSS ของเรากันต่อ อย่างที่ผมได้เกริ่นไปในบทความก่อนหน้าว่าผมจะเริ่มเข้าสู่โหมด CSS3 Modules หลังจากที่เมาอยู่กับ CSS3 Selectors มานานสองนาน วันนี้ผมขอยกตัวอย่างเรื่องของ CSS Background Module Level 3 กันพอหอมปากหอมคอ แต่น่าจะได้นำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายหนทาง

CSS3 Color และ Opacity (CSS3 Color Module)

หลังจากที่ห่างหายไปกับการพูดถึงเรื่องของ Module ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ Properties และ Values ของ CSS กันไปเป็นระยะเวลานานพอสมควร อาจเป็นเพราะผมยังมองว่าเรายังเข้าใจหลักการเขียน Selectors กันแบบถูกน้อย ถูกน้อยมากกันอยู่ จึงมัววุ่นอยู่แต่กับ Selector ซึ่งก็ยังพูดกันไม่หมดอยู่ดี แต่การกระโดดไกลแบบเขย่ง ก้าว กระโดดของ User Agents ทั้งหลาย ทำให้ผมไม่สามารถรีรอที่จะพูดถึงความสามารถต่าง ต่าง ที่เป็นส่วนประกอบ (Property) ของ CSS3 ได้อีกต่อไป

ขอเริ่มกันที่ CSS3 Color Module นะครับ เพราะผมเห็นว่า Module นี้ User Agents ที่เป็น Browser ทั้งหลายนั้นได้รองรับกันหลายเจ้าพอสมควร และอีกอย่าง เพื่อต้อนรับการมาถึงของ IE9 ที่กำลังเดินทางมาจากกาแล๊กซี่อันไกลโพ้น

Texts เล่นกับตัวหนังสือ

css กับการจัดการตัวหนังสือ มึน งง และ อ้าวเฮ้ย อาจจะเกิดขึ้นกับหลายๆ คน เมื่อได้เห็นลักษณะของการเขียนบทความของผม เพราะมันออกจะดู มั่วๆ

ไร้ระเบียบแบบแผนไปหน่อย จับโน่นมาก่อน จับนี่มาหลัง ทั้งที่จริงมันควรจะเรียงแบบ เป็นขั้นเป็นตอน อย่างว่าแหละครับ คนที่จะเริ่มปั่นไปพร้อมๆ กับการเขียนเว็บด้วย CSS นี่ อย่างน้อยต้องรู้ html กันมาอยู่แล้ว ผมก็เลยถือเอาว่า ทุกท่าน ไม่มีทาง งง แน่นอน ก็เลยเขียนไปๆ มาๆ อย่างนี้

สำหรับวันนี้มาว่ากันด้วยเรื่องของ ตัวหนังสือกันครับ สำหรับการกำหนดว่า เว็บเราจะใช้ตัวหนังสือ อะไรเป็นฐาน หรือมาตรฐาน ของเว็บ ให้แสดงสีนี้ ทุกหน้า หรือ ขนาดเท่านี้ ทุกหน้า เราสามารถกำหนดได้โดย

Pseudo-classes อย่างไรกับ Link หลากสี

Pseudo-classes ไม่จำเป็นต้องมีเพียงคลาสเดียวใน CSS ไฟล์ ได้ แต่ชื่อคลาสต้องไม่ซ้ำกัน ซึ่งในเรื่องน้ำ ผมขอยกตัวอย่างการใช้ Pseudo-classes หลายๆแบบให้เห็นสักเล็กน้อย สำหรับผู้ที่ยังมึนงงอยู่ ว่าจะจัดการกับ ตัวหนังสือที่เป็นลิงค์ในหน้าเดียวกัน แต่ยากให้มันมีหลายๆ สียังไง,/p>

ในการเขียน CSS ของผมไม่ว่าจะนำไปใช้สำหรับเว็บใด หรือหน้าเพจพิเศษ ไหนก็ตาม ผมจะกำหนด Pseudo-classes หลักเพื่อให้เป็น ฐานของการลิงค์ ของเว็บเสมอ คือ ถ้าในคลาสอื่นๆ ไม่ได้มีการเรียกใช้ Pseudo-classes พิเศษใดๆ ที่เฉพาะเจาะจงออกไปแล้ว ลิงค์ ทุกลิงค์ จะแสดงผลออกมาลักษณะเหมือนกัน

Back to Top