Color and Background

ใช้ HSL แทน RGB หรือ HEX กันไหม

ตั้งแต่สมัยพระเจ้าสามหำ สีทั้งสองโพรไฟล์นั้นสร้างมาเพื่อให้นักพัฒนาเอาไว้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ไม่ได้ต้องการเน้นให้คนอ่านรู้เรื่องมากนัก เหล่านักวิจัยคอมพิวเตอร์กราฟฟิคจึงสุมหัวและหยุมหัวกันตั้งแต่ปี 1970 พัฒนาระบบสีที่เอามาใช้ข้างเคียงกับ RGB ไม่ใช่เอามาทดแทน

ทำความเข้าใจ css sprites และ background-position

ThaiCSS ขอแนะนำนักเขียนใหม่ Kulachat Kena หนุ่มขอนแก่นคนนี้จะมาขอจับจองบอกเล่าเรื่องราวง่ายๆ สบายๆ ที่เราอาจจะลืมหรือมองข้ามไป รวมไปถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย แบบเบาๆ

เพราะที่ผ่านมาหลายๆ ท่านอาจจะเบื่อหน่ายกับบทความที่ผม (พร อันทะ) เขียนเอาไว้ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนกำกวมและยุ่งยากแก่การทำความเข้าใจ ไทซีเอสเอสจึงแก้เกมด้วยการเปิดรับนักเขียนหน้าใหม่มาเป็นเหยื่อความขี้เกียจต่อๆ ไป

ในบทความแรกนี้พูดถึเรื่องการใช้ Substring Maching Attribute Selectors แบบ Subfix เข้ามาใช้ในการกำหนดให้ Class อะไรก็ตามที่มีค่าลงท้ายเท่ากับ icon แสดงผลออกมาเป็นรูป icon ตามที่ต้องการ
โดยใช้ background-position แยกตำแหน่งการแสดงผล เซิญแซบครับ

การใช้งาน Layering Multiple Background Images

สวัสดีพี่น้องชาว ThaiCSS ผู้รักสนุกทุกท่านครับหลังจากหายหัวหนีไปปั่นจักรยานอยู่พักใหญ่ วันนี้ได้ฤกษ์ปล่อยบทความที่ตั้งใจจะเขียนซักทีถือว่าเป็นบทความก่อนลาไปอุปสมบทแล้วกันนะครับ วันนี้ผมจะมาแนะนำการใช้งาน “Layering Multiple Background Images” หรือการใช้งาน Background แบบหลายเลเยอร์นั่นเอง

Layering Multiple Background Images นั้นเป็นความสามารถที่ถูกเพิ่มเข้ามาใน CSS3 โดยความสามารถนี้จะทำให้เว็บดีไซน์เนอร์ทำงานกับ Background ได้ยืดหยุ่นมากขึ้น สำหรับการใช้งานนั้นเพียงใช้เครื่องหมาย comma-separated(,) หรือเครื่องหมายจุลภาค คั่นระหว่างแต่ละ Background ที่ต้องการเรียกใช้โดยคำสั่งที่อยู่แรกจะเป็นตำแหน่งเลเยอร์บนสุด และเรียงลำดับลงไปเรื่อยๆ

CSS3 Box Shadow : ทำ Drop shadow ด้วย CSS3

ดอกไม้

บทความเปิดศักราชใหม่ จาก thaicss.com เรามาว่ากันในเรื่องง่ายๆ แต่ใช้ได้ใช้ดี โดยไม่ต้องพึ่งพา ไดเกียว แต่ประการใด นั่นก็คือการทำเงา ให้กับ Element ใดๆ ที่เราต้องการ

CSS3 Box Shadow เป็น Property ที่บรรจุเอาไว้ใน CSS Backgrounds and Border Module Level 3 ถือเป็น Miscellaneous Effects ของ Module นี้ โดยใน Miscellaneous Effects มี 2 ตัว ตัวแรกคือ box-shadow ที่กำลังจะพูดถึง และตัวที่สองคือ box-decoration-break เอาไว้พูดถึงในโอกาสหน้า (ถ้ายังมีอยู่)

box-shadow สามารถใส่ค่าการทำ drop-shadow ได้มากกว่า 1 สี โดยการใช้ คอมม่า ในการแบ่งการสั่งงาน

หลักการสั่งงานของคำสั่งมีดังนี้
ตัวอย่าง Code:

div {
box-shadow: 5px 5px 10px 10px rgba(50,50,50,.4);
}

หรือ

* {box-shadow: 5px 5px 15px 5px rgba(50, 50, 50, .5) inset;}
  1. เลขค่าแรก คือการสั่งงาน เงา แนวนอน เลขบวกคือ ด้านขวา เลขลบ คือด้านซ้าย
  2. เลขตัวที่สอง คือการสั่งงาน แนวตั้ง เลขบวกคือ ด้านล่าง เลขลบ คือด้านบน
  3. เลขตัวที่สาม คือการสั่ง ค่าการเบลอ ว่าจะเบลอประมาณไหน เริ่มจากค่า โรงงานคือ ศูนย์ และเป็นค่าบวก
  4. เลขตัวที่สี่ คือการสั่งขอบเขตการขยายตัวของการเบลอ (a spread distance) ใช้เป็นค่า บวกเท่านั้น
  5. สีของเงา สามารถใส่ได้ตามหลักการของ W3C ซึ่ง อ้างอิงจาก CSS Colors Module Level 3
  6. inset คือคำสั่งให้ เงาเด้งกลับเข้าไปในกล่อง ซึ่งคล้ายๆ การสั่ง inner shadow ของ Adobe Photoshop

CSS3 Background และ IE9 ร้อนๆ

ตัวอย่าง css3 background

IE9 พี่ท่านมาแล้ว ถึงแม้ยังขาดตก บกพร่อง ก็ยังดีกว่าไม่มา ใครที่อยากจะลองของแปลก เชิญอัพเดทจาก IE8 ไปเป็น IE9 ได้ที่ www.beautyoftheweb.com เลยครับ ส่วนผม อัพเดทไปเรียบร้อยแล้ว เพื่อที่จะเอามาลองเล่นของ ซึ่งถือว่าไม่ได้เลวร้ายไปจากที่คาดการณ์กันเท่าไหร่นัก ส่วนที่เลวร้ายกว่านั้นในความรู้สึกของผมคือ ความเหินห่างจากบราวเซอร์โลโก้ ตัว อี สีฟ้าๆ น้ำเงินๆ ตัวนี้มานานหลายปีนั่นเองที่ทำให้เกิดความไม่อยากใช้งาน แม้กระทั่ง แทบไม่ได้ใช้เข้า ThaiCSS จนเกิดอาการคนใช้ IE เข้า ThaiCSS ไม่ได้มาเป็นเดือนๆ เพราะผมแยก Theme เอาไว้แล้วลืมอัพโหลดไฟล์ template เข้าไปยัง Theme ของ IE 1 ไฟล์ จึงเกิดอาการ หน้าขาวเกิดขึ้น ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยขอรับ

กลับมาที่เรื่องราว CSS ของเรากันต่อ อย่างที่ผมได้เกริ่นไปในบทความก่อนหน้าว่าผมจะเริ่มเข้าสู่โหมด CSS3 Modules หลังจากที่เมาอยู่กับ CSS3 Selectors มานานสองนาน วันนี้ผมขอยกตัวอย่างเรื่องของ CSS Background Module Level 3 กันพอหอมปากหอมคอ แต่น่าจะได้นำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายหนทาง

CSS3 Color และ Opacity (CSS3 Color Module)

หลังจากที่ห่างหายไปกับการพูดถึงเรื่องของ Module ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ Properties และ Values ของ CSS กันไปเป็นระยะเวลานานพอสมควร อาจเป็นเพราะผมยังมองว่าเรายังเข้าใจหลักการเขียน Selectors กันแบบถูกน้อย ถูกน้อยมากกันอยู่ จึงมัววุ่นอยู่แต่กับ Selector ซึ่งก็ยังพูดกันไม่หมดอยู่ดี แต่การกระโดดไกลแบบเขย่ง ก้าว กระโดดของ User Agents ทั้งหลาย ทำให้ผมไม่สามารถรีรอที่จะพูดถึงความสามารถต่าง ต่าง ที่เป็นส่วนประกอบ (Property) ของ CSS3 ได้อีกต่อไป

ขอเริ่มกันที่ CSS3 Color Module นะครับ เพราะผมเห็นว่า Module นี้ User Agents ที่เป็น Browser ทั้งหลายนั้นได้รองรับกันหลายเจ้าพอสมควร และอีกอย่าง เพื่อต้อนรับการมาถึงของ IE9 ที่กำลังเดินทางมาจากกาแล๊กซี่อันไกลโพ้น

Back to Top