Semantic Web

เมื่อ Semantic กำลังใกล้เข้ามา (ภาค2)

จากครั้งก่อน ผมแนะนำสิ่งที่เรียกว่า Google-Apple Cloud ไปแล้ว เมื่อ Google มองการไกลถึงขนาดที่จะสร้าง Network ของ Super Computer (หรือ ที่เรียกว่า Cloud) วางไว้ทุกสารทิศทั่วโลกใบนี้ เพื่อเก็บข้อมูลทุก ๆ อย่าง เพื่อวาง Application ที่เราสามารถเข้าใช้ได้ทุกเมื่อ ซึ่งในอนาคตเราอาจจะไม่จำเป็นต้องมี Standalone PC อยู่ที่บ้านเพื่อทำงาน เราไม่จำเป็นต้องลง OS และ Software ต่าง ๆ มากมาย เพียงแต่เข้าไปใน Google ก็จะมีสิ่งต่าง ๆ ที่เราจำเป็นต้องใช้เตรียมพร้อมรออยู่ คุณผู้อ่านที่เป็นแฟน ๆ ของ Google App น่าจะทราบดีว่ามันมีเพิ่มมาทุกวัน ทุกวัน ให้เราได้เลือก ได้ลองใช้ ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นของฟรีที่ดีเยี่ยมหลาย ๆ อย่าง

ทีนี้เรามาดูกันว่า ทำไม Google ส่งผู้บริหารบางคน ไปอยู่ใน Board ของ Apple ทีนี้เรามามองดูกันว่า ทำไม Google ถึงอยากให้ Apple สร้าง Super Computer ให้ เพราะ Apple ขึ้นชื่อว่าเป็น บริษัทที่เข้าใจหลักกายภาพของ user มากที่สุด และ สามารถผลิตนวัตกรรมที่หักล้างสิ่งที่ใคร ๆ ต่างคิดว่า คงไม่มีใครจะทำมันได้ มาแล้วนักต่อนัก ผมเพิ่งถึงบางอ้อเมื่อไม่กี่สัปดาห์มานี้ (หลายท่านอ่านจะ อ้อ ก่อนผมมาหลายเดือนแล้วก็ได้) ว่าทำไมถึงมี iPhone และ ทำไมถึงมี MacBook Air ออกมา ผมคิดว่ามันเป็นอนาคต อนาคตอะไร อนาคตที่กำลังจะใกล้เข้ามา (อ้างอิงจาก บทความของ : Nicholas Carr) ถ้าสิ่งต่าง ๆ ที่ว่ามานี้เกิดขึ้นจริง นั่นหมายความว่า MacBook Air และ iPhone นั้นอาจจะทำมาเพื่อรอ Project นี้ก็ได้เป็นแน่แท้ เราไม่ต้องการอุปกรณ์อะไรมากมายอีก เพียงแค่อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อเข้าไปยัง Account ที่เรามีอยู่ของ Google ไม่ต้องมีรูปร่างใหญ่มาก พกพาสะดวกสบาย ที่เก็บข้อมูลก็ไม่จำเป็นต้องมีมากนัก เพราะว่าเรามีพื้นที่อยู่ในอากาศอยู่แล้ว (ต่อไปก็จะเกิดธุรกิจ ค้าขายพื้นที่บนอากาศ อากาศจะมีราคาแล้ว) เพียงแต่จ่ายค่าบริการรายเดือนเท่านั้นเอง ต่อไปพวก Computer ที่เป็น Standalone และ มีอุปกรณ์ และ Software ที่เพียบพร้อมนั้นอาจจะใช้เฉพาะกับงานเฉพาะทางเพียงเท่านั้น อาทิ การตัดต่อหนัง, การ render 3D และ งานหนัก ๆ ใหญ่ ๆ อื่น ๆ ที่ต้องกินทรัพยากรณ์ และ visual memory ที่ต้องเตรียมพร้อมหลาย ๆ อย่าง

เมื่อ Semantic กำลังใกล้เข้ามา (ภาค1)

60 ปีที่แล้ว Digital Computer ทำให้ข้อมูลของเราอ่านได้ 20 ปีที่แล้ว Internet ทำให้ข้อมูลเหล่านั้นง่ายต่อการเข้าถึง 10 ปีที่แล้ว search engine crawler ตัวแรกถือกำเนิดขึ้นจาก database เพียงตัวเดียว Google ทำให้หลาย ๆ องค์ประกอบ ทฤษฎีในทัศนคติเป็นจริง Google ในทุก ๆ วันนี้กลายเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรม ไม่ว่าใครต่อใครก็ต้องใช้ Google ฝังลึกหยั่งรากลงไปมากกว่าที่เราจะทันรู้ตัว

ข้อมูลมากมายมหาศาลเหล่านั้น ที่ Google เก็บมาไว้ใน database ของตน เมื่อ 10 ปีที่แล้วหลาย ๆ คนคงอาจจะมองว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาไร้สาระ แต่ในทุกวันนี้ผมคิดว่าแม้กระทั่ง 1 ตัวอักษร Google ก็ขายได้ มองย้อนกลับไปในยุคของ Kilobytes ข้อมูลจะถูกจัดเก็บบันทึกลงใน Floppy Disk ผมยังจำได้เวลาไปโรงเรียนเราจะพกแผ่น Floppy Disk ทั้งหลายเหล่านี้ไว้สำหรับ class ที่ต้องเรียน Computer ตั้งแต่ยังต้องท่องจำ Command Line ต่าง ๆ เพื่อที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามที่ใจเราอยาก ต่อมาเป็นยุคของ Megabytes ข้อมูลทุก ๆ อย่างถูกเก็บลงใน Hard Disk และ มันก็ถูกพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนสามารถเก็บข้อมูลได้เป็น Terabytes โดยที่ตัวมันเองก็เท่าเดิม แต่ใช้ Disk Array ในการจัดเก็บข้อมูลลงไป แล้วยุคของ Petabytes ล่ะจะจัดเก็บลงไปที่ไหน? มันจะถูกจัดเก็บลงไปใน Cloud (Cloud ในที่นี้คือ กลุ่มของ Supercomputer ที่จัดเก็บ Application และ ข้อมูลที่ถูกติดตั้งไว้ในทุกที่ ทุกมุมของโลก) ลองนึกดูว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าข้อมูลขนาด 1 Petabytes ถูกเก็บลงในฐานข้อมูลของ Google ทุก ๆ 72 นาที

เมื่อ Crawler ต้องเจอ XHTML ป่วยๆ

ผมนึกถึงตอนที่ผมหัดเขียน CSS เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา ตอนนั้นคิดอยู่อย่างเดียวว่า ต้องเขียนให้มันแสดงผลได้ใน IE ก่อน แต่พอศึกษาไป เรื่อยๆ กลับกลายเป็น ต้องเขียนให้ดูได้บน Modern Browsers ก่อน IE ค่อยตามมา ผ่านไปเกือบปี ถึงรู้ว่า ก่อนจะเขียน CSS ให้ไปหัดเขียน XHTML ใหม่เสียก่อน

เพราะถ้าเขียน XHTML ไม่ถูกหรือไม่ดี เขียน CSS ให้ตายก็ยากอยู่วันยังค่ำ

XHTML การเขียนก็แตกต่างกันออกไปอีก เขียน XHTML ให้ผ่าน W3C หรือ Markup ให้ถูกต้องนั้นก็ไม่ได้ยากเย็น แต่สิ่งที่ยากเย็นกว่าคือ เขียนยังไงให้ถูกตามหลักโครงสร้าง และหลัก Web Accessibility

XHTML และ CSS มีหลักการใช้งานแยกออกเป็นหมวดหมู่เหมือนกัน เช่น แต่ละ Element เอาไว้ใช้กับข้อมูลประเภทไหน ส่วน CSS บาง Property ที่เอาไว้ใช้กับ เสียง ภาพ หรือ page ก็จะมีคำสั่งแตกต่างกันออกไป แต่ตอนนี้ส่วนใหญ่เรายังสับสนอยู่แค่ อันไหนมันอินไลน์ อันไหนมัน บล๊อก อันไหนมัน ลิสต์ อันไหนมันตารางวะ

ผมเคยเจอกับตัวเอง ครั้งหนึ่งมีคนมาถามว่า ของบางอย่างมันใช้ยังไงหรือครับ ผมก็ตอบไปตามหลักการและทฤษฎี ที่มันต้องเป็น เขาถามต่อว่าทำไมมันต้องเป็นแบบนั้น เพราะที่เคยทำมาไม่เคยเห็นต้องเขียนแบบนั้นเลย ผมก็ตอบไปว่า ก็มันผิดไงหละครับ ก็ต้องปรับให้มันถูก แล้วมันก็จะสามารถเขียน CSS จัดการได้ง่ายและถูกต้อง ในเมื่ออธิบายเข้าใจยาก ผมก็ส่งลิงค์ W3C ให้อ่าน คำตอบที่ได้มาก็คือ ขี้เกียจอ่าน แต่อยากรู้ว่ามันต้องทำยังไง เล่าให้ฟังได้ไหม ผมก็ขอยอมแพ้หละครับ

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ว่าวันหนึ่งผมจะยอมแพ้

รู้จักกับ Microformats

ไม่ทราบว่าเคยได้ยินกันบ้างหรือยังกับคำคำนี้ Microformats และ งงกันบ้างไหมครับว่ามันคืออะไร ทำงานอย่างไร สำหรับเราหลาย ๆ คนคงเป็นเรื่องใหม่ ที่จะเข้ามาปั่นหัวให้วุ่นวายกันอีกแน่ Microformats เป็น “กลุ่มของข้อมูล ที่นำเอามาตรฐานเข้ามาใช้ ที่ถูกออกแบบโครงสร้างมาให้เป็นประโยชน์ต่อ มนุษย์ มากกว่า จักรกล” อย่างไรนะเหรอ? ในอนาคตอีกไม่นานนี้ (ในประเทศไทย) จะได้รู้ถึงคุณประโยชน์ของมันอย่างแน่นอน เมื่อ ICT รู้จักทำประโยชน์ให้ประเทศ รู้จักมองถึงปัญหาที่เกิดเกี่ยวกับโลก cyber อย่างแท้จริง รู้จักมองถึงประชาชนในประเทศ และ รักษาสิทธิ์ที่พวกเราพึงจะได้มากกว่านี้ … ทำไมผมถึงพูดออกมาอย่างนั้น ทำไมน่ะเหรอ เอาไว้จะสาธยายให้ฟัง หลังจากอธิบายเกี่ยวกับ Microformats ก่อนก็แล้วกันครับ

Microformats นั้นหมายถึงการใช้ Standard ที่เรารัก (ไม่รู้ว่ารักจริงไหมนะ เฉพาะชาว ThaiCSS หรือเปล่า?) ให้มีความหมายมากที่สุด (semantic มากที่สุด) เท่าที่จะทำได้ มองง่าย ๆ ไปเลยเสียว่า มันคือแบบฝึกหัดในการทำให้ Website ของคุณนั้นมี Accessibility ที่สูง ๆ นั่นเอง Microformats ใช้ XHTML tags หลาย ๆ ตัวเช่น address, cite และ blockquote และ XHTML attributes หลาย ๆ ตัวเช่น rel, rev และ title เอามาทำให้ข้อมูลของคุณนั้นเกิดความหมาย เกิดประโยชน์มากที่สุด (ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ คุณมีความคิดในใจเกิดขึ้นว่า อะไรของมันวะเดี๋ยว tags เดี๋ยว attributes ให้ลองอ่าน ความหมายของมันในกระทู้นี้ Microformats ใช้ยากไหม? ไม่ยากครับ มันใช้ tags และ attribute ที่เราคุ้นเคยนี่แหละ นำมาใช้ในทางที่ดีที่สุด เกิดประโยชน์ที่สุด

ลดปัญหาโลกร้อนด้วยการเขียน XHTML, CSS อย่างถูกวิธี

เกาะกระแสโลกร้อนกันดีกว่าครับ ปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เมืองไทยไม่ยอมน้อยหน้า แล้วอันใด เราชาว XHTML, CSS จะยอมน้อยหน้า มาช่วยกันเขียนเว็บเพื่อลดปัญหาโลกร้อนกันดีกว่า อย่าเพิ่งตกใจว่าจะชวนไปทำหน้าเว็บเพื่อเชิญชวนผู้คนลดใช้ขยะมลพิษ มันไม่ใช่แนวเท่าไหร่

ผมลองๆ นึกดู ว่าการทำเว็บ XHTML CSS สามารถช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้เป็นอย่างดีอีกทาง อย่างไร ก็ง่ายๆ ครับ แค่เขียนเว็บให้ถูกหลัก Web Standards และเป็นไปตามหลักการของ Semantic Web ใช้ External CSS แค่นี้ก็ช่วยได้ในระดับหนึ่งแล้วครับ มาดูกระบวนการแนวคิดมั่วๆ ของผมกัน

Semantic Web พูดกันทุกทาง อย่างมีความหมาย (1)

  1. ถ้าคุณเขียนโค้ดถูก แต่บราวเซอร์แสดงผลเพี้ยน แสดงว่าบราวเซอร์ มีปัญหา
  2. ถ้าคุณเขียนโค้ดผิด แต่บราวเซอร์ยังแสดงผลถูกต้อง นั่นแสดงว่า ทั้งตัวคุณ ทั้งบราวเซอร์ ต่างก็มีปัญหา

สองข้อด้านบน เป็นประโยคที่อธิบายลักษณะ การทำงานของเว็บดีไซเนอร์ได้อย่างน่าขันดี แต่หลายคนอาจจะไม่ขำกับผมด้วยเป็นแน่แท้ เพราะส่วนใหญ่อยู่ที่ข้อสาม คือ ไม่รู้ว่าตัวเอง เขียนโค้ดถูก หรือผิด เลยไม่รู้ว่า บราวเซอร์ แสดงผลถูกหรือผิดในความเป็นจริง แต่ในเชิงประจักษ์ทางสายตา เรายังเห็นการแสดงผลที่เพี้ยนบ้างพออภัย

หลายคนคงหงุดหงิดไม่น้อย ที่ช่วงหลังๆ เข้ามาที่ไทยซีเอสเอส แล้วเจอแต่เรื่องราวประหลาด ไม่ค่อยมีบทความเกี่ยวกับการเขียน CSS เลย มีแต่เรื่องบ้าบอคอแตก อะไรก็ไม่รู้ คำก็ Web Standards สองคำ ก็ ทำเว็บให้ได้มาตรฐาน สามคำก็ พาไปเขียน XHTML แล้วเรื่องราวของ CSS หละ อยากเห็น อยากเจอ

Back to Top