CSS Selectors

CSS3 Pseudo-elements

ซุปเปอร์มาริโอ้ และผองเพื่อน

Pseudo-elements ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเข้าถึงภาษาโครงสร้าง (xhtml, html, xml ฯลฯ) ที่ CSS Selectors อื่นๆ เข้าไม่ถึง ซึ่งใช้ในรูปแบบ การหลอกว่ามี element นั้นๆ อยู่ ซึ่งก่อนหน้านี้ “แบงค์” ได้เขียนอธิบายเรื่อง “เรียนรู้การใช้งาน CSS Generated Content” เอาไว้ โดยรูปแบบของ Selectors นั้นใช้ CSS2 และเน้นไปที่ :before และ :after ซึ่งทำงานได้เหมือนกัน

Pseudo-elements

  1. ::first-line คือ แถวแรก
  2. ::first-letter คือ ตัวแรก
  3. ::before คือ ก่อน (x)
  4. ::after คือ หลัง (x)

ประโยชน์หลักและโดดเด่นของ Selectors ชุดนี้คือการจัดการหน้าเอกสารในรูปแบบ นิตยสารออนไลน์ หรือ จัดหน้าให้คล้ายหรือเหมือนกับสื่อสิ่งพิมพ์ หรือจัดหน้าให้กับ Printer

การใช้ชื่อ Class ของ HTML ร่วมกัน และการตั้งชื่อ Class ID ตามกลุ่มข้อมูล

ตัวอย่างภาพบทความ class และ id

ก่อนหน้านี้ผมได้เขียนบทความ เรื่อง “แนวคิดการตั้งชื่อ Class และ ID ใน HTML เพื่อ Web 4.0” เอาไว้ ซึ่งเวลาก็นานพอสมควร ส่วนใหญ่บทความที่ผมเขียน มันมักจะไม่จบในตอน ซึ่งจะมีการแนะนำให้รออ่านในตอนต่อไป แล้วตอนต่อไป มันก็ไม่ยอมเขียนสักที บทความนี้ก็เช่นกันครับ เป็นบทความตอนต่อ ที่ต้องใช้เวลาร่วม 1 ปี จนสามารถเกิดขึ้นได้

ถึงแม้ว่า ผ่านมา 1 ปีแล้ว ผมก็ยังเชื่อว่า เนื้อหานั้นก็ยังไม่สายเกินไปอยู่ดี เพราะส่วนใหญ่ ไทซีเอสเอส มักจะเขียนบทความในฝัน กว่าที่พวกผมจะตื่นจากฝันมาเขียนบทความนอกฝันก็หลายปี แต่ตั้งแต่นี้ไป พวกผมคงเขียนบทความที่อ่านกันแล้วเข้าใจง่ายยิ่งขึ้นให้เหมาะสมกับประเทศที่กำลังพัฒนา และจะกำลังพัฒนาต่อไปไม่มีที่สิ้นสุดอย่างเมืองไทยของเรา

การเขียน CSS Selectors เพื่อสั่งงาน HTML Child Element

child element picture

วันนี้ ผมคิดอะไรออกบางอย่าง เป็นกรณีเส้นขนบังภูเขาไฟ ชนิดที่เรียกได้ว่า ผมน่าจะคิดพบตั้งนานแล้ว ได้แต่นั่ง งงๆ ในความโง่ของตัวเอง เลยเอามาเขียนไว้ตรงนี้อีกที

เหตุการณ์ที่ว่านี้คือ การสั่ง element ใดใด ที่เป็น child element ยกเว้น child ตัวที่ 1

เช่นว่า เราแบ่งเนื้อหาออกเป็น คอลัมน์ แล้วเราต้องการขีดเส้นกั้นเอาไว้ แต่ ถ้าเราสั่ง border เช่น border-left เข้าไปตรงๆ นั้น มันจะทำให้ เกิด เส้นขอบขึ้นที่ ด้านซ้ายสุดของกล่องข้อมูลด้วย เราจำเป็นต้องหาทางลบเส้นขอบมันออกไป โดยที่ยังคงความเป็น semantic ของ html เอาไว้ให้ได้มากที่สุด

เมื่อครั้งเก่าก่อน เราอาจจะเขียน class ขึ้นมา 1 class ซื่อว่า .none-border {border: none;} แล้วเอาไปใส่ ใน element ตัวแรกที่เกิดเส้นขอบขึ้น เพื่อลบเส้นขอบออกไปแทน แต่เกิดคำถามขึ้นว่า ทำไม เราต้องไปเพิ่ม ค่าให้กับ Attribute class นั้น โดยที่ชื่อ class ไม่ได้แสดงออกถึงการสื่อสารด้าน เนื้อหา ข่าวสารในความเป็น Semantic web ของภาษาเลย

ซึ่งหน้าที่เหล่านี้ โดยความรับผิดชอบแล้ว มันอยู่ที่ภาษา CSS ไม่ใช่ HTML

มาดูกันว่า เราจะลบเส้นขอบด้านซ้ายของ คอลัมน์แรกออกไปได้ยังไง โดยที่ไม่ใส่ class เพื่อสั่งลบเส้นขอบออกไป

nth-child() และ not() ใน CSS Selectors

ภาพตัวอย่างบทความ nth-child() และ not() ใน CSS  Selectors

CSS Pseudo-classes ที่อยู่ในจำพวก Structural pseudo-classes นั้นมีหลายตัวด้วยกัน แต่วันนี้ ผมขอพูดถึงตัวพื้นๆ ใช้ง่ายๆ และน่าจะได้นำมาใช้บ่อยๆ กันก่อนนะครับ
Structural pseudo-classes มีไว้ใช้ในกรณีที่ Simple Selectors และ Combinators Selectors นั้นไม่สามารถนำมาใช้งานได้ เพราะฉะนั้น ในการเลือกใช้งานอย่างเหมาะสมตามความสามารถของภาษาก่อนเป็นอันดับแรก เช่น ถ้าหากเราจะสั่งงาน HTML บางชุดการใช้งาน ให้เริ่มคำนึงถึง Simple Selectors อื่นๆ ก่อน

ปัญหาจะตามมาตรงนี้ เพราะ คนทำงานมันยังไม่รู้ว่า Simple Selectors มันคืออะไรกันวะ หน้าตาเป็นยังไง ถ้าอย่างนั้น เอาอย่างนี้ ผมจะขอไกด์ไลน์ ให้พอเป็นอีโนให้ เช่น สมมุติว่าเรามีกลุ่ม HTML กลุ่มหนึ่ง เราจะเขียน CSS จัดการ ให้เริ่มลำดับการเลือกที่

  1. Type Selector
  2. Universal Selector
  3. Attribute Selectors
  4. Class selectors (อันนี้ได้ข่าวว่า ชาวไทยผู้คลั่งชาติ ชอบใช้กันมาก)
  5. ID Selectors (อันนี้ หลายคนก็ยังไม่รู้ว่ามันต่างจาก อันด้านบนยังไง และเลือกใช้งานยังไงอีก)
  6. พอมาถึงตรงนี้ ถ้ายังเลือกหา Selectors ที่เหมาะสมเพื่อจะจัดการกับ HTML ของเรายังไม่ได้ ให้ข้ามไปที่ Combinators Selectors โดยเริ่มที่การเลือก Descendant Combinator ก่อน ถ้ายังไม่ได้ ให้ไป
  7. Child combinators
  8. Sibling combinators โดยในนี้ มี 2 อันให้เลือกใช้คือ Adjacent sibling และ General sibling
  9. ถ้าลูกค้าเร่งงานมาด่วนมาก คิดไม่พบ ว่าอะไร เป็นยังไง ให้ทำงานหาเงินก่อน อย่าเพิ่งคำนึงถึง 8 ข้อด้านบนมาก เดี๋ยวจะไม่มีเงินกินข้าว

CSS3 Attribute Selectors กับแนวคิดการทำ Floating Layouts

เคยคิดหนักเรื่องการแบ่งหน้าเว็บออกเป็นหลายๆ สดมภ์กันไหมครับ ไม่ว่าจะ สอง สาม สี่ หรือห้า เมื่อเราต้องการแบ่งหน้าเว็บทีไร ต้องมาเขียน CSS
ใหม่ทุกที แต่วิธีที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้ มันต้องมีข้อแม้ และไม่ต้องไป ค้นหาว่า มี ”ฝรั่ง” ที่ไหนเคยทำ หรือ พาทำ หรือไม่ ถึงมีจริง ผมก็ไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหน

การตั้งค่าการการแบ่ง สดมภ์ อย่างเป็นมาตรฐาน เราสามารถเขียน CSS แค่ไม่กี่บรรทัด ก็ทำได้แล้ว แต่สิ่งที่เราจำเป็นต้องรู้คือ การเขียน CSS Selector ในหมวดหมู่ Attribute
Selector โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง CSS Substring matching attribute Selector ถ้าใครยังไม่รู้ว่าเขียนยังไง ก็ลองค้นๆ หาเอาใน ThaiCSS นี่แหละครับ ผมเขียนไว้หลายแบบอยู่และนานมาแล้ว

ตัวอย่าง การเขียน css สดมภ์แบบที่หนึ่ง

Selectors ที่ต้องใช้ในการนี้มีทั้ง Child Selector และ Attribute Selector

pseudo-classes กับการกำหนด form stage interface เพื่อตอบโต้การใช้งานกับ ผู้ใช้งาน

วันนี้ผมจะมาพูดเกี่ยวกับการใช้ CSS มาช่วยในการทำให้ User Interface ของหน้าแบบฟอร์มทำงานตอบโต้กับผู้ใช้งานได้ดีขึ้น

การใช้ pseudo-classes ของ CSS เข้ามาช่วยในการตบแต่งหน้าแบบฟอร์มนั้นอาจจะช่วยให้แบบฟอร์มดูน่าใช้งานมากขึ้น และ ช่วยให้ผู้ใช้งานได้รู้ว่าตัวเองกำลังกรอกแบบฟอร์มตรงไหนอยู่ พร้อมทั้งมีคำแนะนำในการกรอกข้อมูลลงไปในแบบฟอร์มนั้นได้ด้วย

ตัวอย่างที่ผมจะนำเสนอนี้ใช้เทคนิคการทำงานของ pseudo-classes ใน CSS3 เข้ามาประกอบกับโครงสร้างของ XTHML เพื่อให้แบบฟอร์มในเว็บไซต์นั้น ทำงานตอบโต้กับผู้ใช้งานได้อย่างเป็นประโยชน์สูงสุดครับ

  • :active ในที่นี้ จะทำงานในขณะที่ click mouse (ตอนที่กดลงไปนั่นเอง)
  • :focus จะทำหน้าที่บอกตำแหน่งของตัวรับข้อมูลของแบบฟอร์มที่ cursor ของผู้ใช้งานทำงานอยู่ และ สถานะที่พร้อมใช้งาน (พร้อมรับข้อมูลที่จะกรอก)
  • :checked เป็น pseudo-classes ที่ทำการเช็คค่าความเป็นจริงของ input[type=’checkbox’], input[type=’radio’] ว่าได้ทำการเลือกไปแล้ว

Back to Top