Radiz Sutthisoontorn

HTML5 XHTML2 และ อนาคตของเวป (2)

โลกปัจจุบัน XML

XHTML ส่วนใหญ่ในเวปที่เราเห็น ๆ กันอยู่นั้นใช้ content type แบบ "text/html" พูดง่าย ๆ มันก็ยังเป็น ต้มยำ tag ที่ทำงานในแบบ XML ไม่ได้เป็น XML ไปเสียทีเดียว

ทำไมน่ะเหรอ? เพราะถ้าเป็น XML จริง ๆ นั้นถ้ามี error แม้เพียงแค่จุดเล็ก ๆ จุดเดียวมันก็จะไม่แสดงผลใดใดเลยทันที จะบอกแต่ว่ามี error อยู่ที่ใด ซึ่งบางทีนั้นก็ดูจะเรื่องมากไปหน่อยสำหรับการนำมาใช้งานจริง ๆ ซึ่งคุณลองคิดดูว่าถ้าเราแบ่งงานกันเป็นส่วน ๆ ในทีมแล้วเมื่อเรานำงานของแต่ละคนที่ทำนั้นเข้ามารวบรวมกัน เราคงต้องลุ้นกันตัวงอ ว่าจะมีส่วนของใครที่ผ่าน และ ส่วนของใครที่นำพาความหายนะมาสู่เพื่อนพ้อง นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมความนิยมของมันจึงลดถอยลงคงเหลือไว้ใช้เพียงบางกรณี ต่างกับเจ้าต้มยำ Tag ของเราถึงแม้ว่าเราจะไม่รู้ตัวว่าเราน่ะ code ไม่ผ่านมาตรฐาน แต่มันก็ยังน่ารักแสดงผลให้เราเห็นอยู่ (อืม ปลื้มดีมั้ยนะ)

ปัญหาใหญ่ คือ เราจะทำไงให้ต้มยำเรามันทำงานแบบ XML จริง ๆ จัง ๆ ซึ่งยังไง๊ ยังไง ก็ทำไม่ได้เพราะ IE6 มันไม่สนับสนุน content type ที่ XHTML 1.0 ต้องใช้จริง ๆ ซึ่งนั่นก็คือ "application/xhtml+xml" ซึ่งเป็นที่ทราบกันแล้วว่าไม่ว่าจะประกาศอะไรอย่างไร IE6 มันก็ดึง Engine เดิมมาประมวลผลในการแสดงผล หาเปลี่ยนไปตามค่า content type ที่เราประกาศไม่ แถมยังไม่สนับสนุนคำสั่ง XML ทั่วไปด้วย ลามไปถึง XHTML namespace อีกต่างหาก และ แค่นั้นยังไม่พอ มันยังไม่รู้จักความเป็น semantics ของแต่ละ elements ใน XHTML ด้วย (เกลียดมันบ้างรึยัง) แถมนิดนึง default browser style sheet ก็เปลี่ยนไม่ได้ด้วยนะ

อย่างไรก็ตาม XHTML 1.0 อนุญาติให้ใช้ content type แบบ "text/html" ซึ่งหมายถึงมัน อนุโลมให้ตัวมันเองสามารถทำงานเหมือนกับ HTML 4.01 ได้ (เพื่อป้องกันการแสดงผลที่ผิดพลาด หรือ การไม่เข้าใจ content type ของบาง browser) ซึ่งนั่นหมายถึง มันก็สามารถเป็นต้มยำ tag ได้เฉกเช่นเดียวกับ HTML 4.01 หรือ ไม่จำเป็นจะต้องทำอะไรเป็นกฏเป็นเกณฑ์เหมือน XML ไปหมด

HTML5 XHTML2 และ อนาคตของเวป (1)

เพื่อน ๆ หลาย ๆ คนที่ทำงานในสายงานเดียวกันกับผม (หมายถึง ใน field งานของเวปทั้งหมด) รู้ตัวหรือไม่ว่าเรา ได้ทำงานร่วมกับเทคโนโลยี ที่พัฒนากันมาเนิ่นนาน อย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว (มันก็เปลี่ยนแปลงของมันน่ะนะ แต่บางทีเราก็ไม่รู้ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม)

HTML 4.01 ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในปี 1999 และ XHTML 1.0 อีกร่างหนึ่งของ HTML 4.01 ในการทำงานแบบ XML ก็ถูกพัฒนาต่อขึ้นมาในปี 2000 และ ได้ถูกแก้ไขกันอีกทีในปี 2002 นั่นคือ สิ่งที่ผมจะบอกว่า XHTML ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่เลยจริง ๆ พูดกันง่าย ๆ ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้นั้น ถูกพัฒนามาแล้วไม่ต่ำกว่า 8 ปี

อาจจะพูดได้ว่า HTML 4.01 เป็นพื้นฐานที่ดีพอสมควรที่นักพัฒนา นักสร้าง นักออกแบบ website นั้นสมควรที่จะต้องเรียนรู้ และ HTML 4.01 ก็เป็นเครื่องมือหากินที่ดีตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา แต่เวลามันเปลี่ยนไป อะไร ๆ มันก็ไม่มีที่จีรังยั่งยืน มันก็ต้องเปลี่ยนแปลง หรือ ค่อย ๆ เปลี่ยนไปบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามกาลเวลา และ ณ บัดนี้ เชื่อว่า ทุก ๆ คนคงได้เห็นว่า HTML 4.01 นั้นถูกพัฒนามาในทางที่ผิด หรือ ครอบคลุมความต้องการ หรือ ให้ประโยชน์กับเราได้ไม่เต็มที่ หรือ ดีเท่าที่ควรแล้ว จึงเกิดเป็นคำถาม ในใจของทุก ๆ คน ต้องมีบ้างไม่ว่าผมหรือใคร ว่าจะมีทางที่มันจะพัฒนาขึ้นมาได้อีกไหม? หรือ มันต้องหยุดเพียงเท่านี้ แล้วเราต้องไปพึ่งพาในสิ่งใหม่

XHTML CSS เพื่อประโยชน์ทาง SEO อย่างแท้จริง

ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Internet Marketing คงทราบกันอยู่แล้วว่าสิ่งที่ทำให้ผลลัพธ์ทาง SEO สูง ๆ นั้น ไม่ใช่การมุ่งทำโฆษณากับ …. หรือ จ่าย pay per click มีอีกหลาย ๆ วิธีที่ไม่จำเป็นต้องไปเสียเงินเสียทองให้เปลืองไปเปล่า ๆ เช่น การจัดการหน้าเวปของคุณ  ๆ เองนั้นให้มีขนาดย่อมลง หรือ อะไรก็ตามที่แสดงในหน้าเวปนั้น ไม่หนักจนเกินไป, จัดการกับ content ของคุณให้เป็นระเบียบเรียบร้อย รวมไปถึงตัว code เองด้วย และ เนื้อหาที่ตรง ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ หรือ concept ของเวปไซท์ พยายามแทนที่ภาพด้วย text ให้มากที่สุด โดย text เหล่านั้นไม่ใช่การ spaming กับ search engine spiders

ผมจะไม่พูดถึงสิ่งทั้งหลายทั้งมวลข้างบนนั้น หรือ basic ของ XHTML และ CSS เอาเป็นว่า เหมาเลยละกันว่าทุกคนที่กำลังอ่านเป็นกันหมดแล้ว อย่างไรก็ตามคุณสามารถหาอะไรที่เกี่ยวกับเจ้าสองตัวนี้ได้จาก Category Link ของบทความหลัก ๆ จากหน้าแรก หรือ ด้านบนของหน้าบทความ

web standard บนเวทีการเมือง

จากที่พรได้ส่งบทความ เสียงลือ เสียงเล่าอ้าง จาก Bruce Lawson ที่เขียนใน webstandards.org เกี่ยวกับ Web Standards ที่ได้ถูกนำเข้าไปบัญญัติเป็นกฏหมายของประเทศอังกฤษให้ผมได้ลองอ่านดูแล้ว มันทำให้อดนึกสะท้อนถึงสภาพการณ์ ณ เวลานี้ในประเทศเราหลาย ๆ อย่าง แต่ช่างมันพูดแค่ไอ้เรื่องที่มันเกี่ยวข้องกับเราเท่านั้นก็พอ

โดยสรุปแล้วนั้น รัฐบาลอังกฤษได้ร่างกฏหมายเกี่ยวกับ Web Standards และ Guideline คร่าว ๆ ขึ้นมาแล้ว ซึ่งจะประกาศ “อย่างเร็วที่สุด” ในวันที่ 13 พฤศจิกายน นี้ ซึ่งจะปล่อยออกมาจริง ๆ หรือไม่คงต้องเฝ้ารอดูกันต่อไป แต่แนวโน้มความเป็นไปได้คงจะสูง เพราะตอนนี้มีคำสั่งออกมาแล้วว่า website ใดใดก็ตามที่เป็นของรัฐบาลอังกฤษ (.gov.uk) นั้นจำเป็นจะต้องออกแบบ และ สร้างขึ้นตามมาตรฐาน WCAG 1.0 ของ W3 ที่บัญญัติไว้นั้นในระดับ Double-A (หรือ Level-AA) โดยทั้งหมดจะต้องปรับปรุงให้เสร็จสิ้นภายในเดือน ธันวาคม 2551 และ จะขยายผลสู่ Website อื่น ๆ ต่อไป (เมื่อร่างกฏหมายนั้นถูกประกาศ) เหตุการณ์นี้จะส่งผลกระทบอย่างไร?

แนวทาง ในการแก้ไขปัญหา Float Model

การจัดวาง layout เพื่อใส่ content ในเวปนั้น เราสามารถใช้ได้ทั้ง การกำหนด position หรือการใช้ float ซึ่งทั้งสองมีรูปแบบการใช้ที่แตกต่างกัน โดยในที่นี้เราจะพูดถึงการใช้ Float กับการจัดวาง Layout โดยสิ่งที่จะเจออย่างแรกคือ ปัญหาการใช้ float กับ block element ซึ่งอยู่ใน block element ที่เป็น  container แล้วตัว container ไม่ยืดตามเนื้อหาของ  block element ที่ใช้ float

ดังตัวอย่าง: css ที่ใช้คือ

จัดระเบียบการทำงานกันดีไหม

จากประสบการณ์ทำงานกับ Agency และ กับบริษัททั้งหลาย ที่ผมได้ร่วมงานมา ประสบการณ์ดีดี และ ปัญหาที่ผมได้พบนั้นก็มี case ต่าง ๆ มากมายหลายสิ่งอยู่ (หลายสิ่งอยู่ = สำเนียงแถวบ้านผมน่ะ ความหมายประมาณ “หลายสิ่งเหมือนกัน” ตามภาษาภาคกลาง) ผมอยากจะยกสิ่งที่ผมเคยร่ำเรียนมา หรือ concept ที่ผมพอจำได้เลือนลาง หรือ อาจเสริมลงไปบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ มาเป็นตัวอย่างในการคิด การลำดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพ อาจจะเป็นประโยชน์ หรือ ไม่เป็นประโยชน์ ก็ต้องขอขอบคุณ และ ขออภัยไว้ล่วงหน้า และ ก็อยากให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ หรือ ผู้ที่เป็นมิตรรักแฟนเพลง ThaiCSS แสดงความคิดเห็นกันให้หูดับตับแลบ กันที่บทความนี้ ถือเสียว่าเป็น การฉลอง section ใหม่ ที่ผมขอพรเปิดขึ้นมาละกัน

จริง ๆ แล้วมันอาจจะเป็นบทเรียนที่เราได้เรียนในสมัยอุดมศึกษาแล้วก็ได้ ในภาควิชาโฆษณา หรือ สื่อสารมวลชน ผนวกกับวิชาการพัฒนาซอฟท์แวร์ ซึ่งผมเรียน MIS มาก็พอจะได้เรียนมาคร่าว ๆ บ้างบางตัวในส่วนของทางนิเทศน์ศาสตร์ สิ่งที่ผมจะเขียนมันเกี่ยวข้องกับ Web Agency และ Freelance ทางด้าน Web Design ซึ่งผมคิดว่าอาจจะไหล ไปร่วมกับงานด้านอื่น ๆ ได้เช่นกัน เพราะมันน่าจะเอาไป Apply ต่อยอดได้ต่อไปได้ บางทีมันอาจจะเป็นบทเรียนที่เราเรียนแล้วถูกลืมไปว่าเราเอามันมาใช้ประโยชน์เมื่อทำงานจริง ๆ ก็ได้ เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า

Back to Top