Radiz Sutthisoontorn

accessibility หน้าที่เรา ไม่ใช่หน้าที่ใคร | ประวัติ และ การเตรียมตัว สำหรับการทำ web accessibility

ณ เวลานี้รัฐบาลของในหลาย ๆ ประเทศในโลกได้มีการกำหนดนโยบายให้ทำ website ของรัฐบาลตาม accessibility guidelines ของ W3C กันหลายประเทศแล้ว เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อประชากรภายในประเทศของเขา (หมายถึง ทั้งคนพิการทางสายตา หรือ ทางหูด้วย) เพื่อการเข้าถึง website ได้ในทุก ๆ อุปกรณ์ที่สามารถใช้เทคโนโลยีร่วมกันได้ ซึ่งผมจะไม่กล่าวถึงบ้านเราอีก เพราะได้เขียนไปแล้วในบทความ web standards บนเวทีการเมือง ในบทความนี้ผมจะเล่าประวัติของ accessibility เท่าที่ได้อ่าน ได้ศึกษามา สรุปเท่าที่พอจะรู้ ถูกไม่ถูกอย่างไร ใครจะเสริมก็เชิญซัดกันได้เลยเต็มที่เลยนะครับ

accessibility หน้าที่เรา ไม่ใช่หน้าที่ใคร

หลายคนในตอนนี้วันนี้ ที่ทำงานอยู่ใน field นี้ (web designer และ web programmer) เชื่อว่า 95% ยังไม่รู้จัก accessibility หรือ รู้จักในทางที่ผิด ๆ หรือ ไม่ดีพอ คุณจะทำอย่างไรถ้าวันนึงเจ้าสิ่งนี้เป็นหนึ่งใน requirement ของลูกค้าของคุณ? หลาย ๆ คนคิดว่า acessibility เนี่ยต้องมานั่งทำหลังจากที่ website เสร็จแล้วเปิดใช้งานแล้วค่อยมาตามเก็บกันทีหลัง หรือ ทำก็ต่อเมื่อลูกค้ามาร้องขอ เป็น requirement เพิ่มเติมเก็บเงินกันไป

ผมไม่เข้าใจหรอกว่าไอ้ความคิดแบบนั้นมันเกิดขึ้นมาได้ยังไง หากแต่ว่า ถ้าคุณได้ลองอ่าน Guideline ของ W3 แล้ว และ พินิจพิเคราะห์ไปด้วยคณะอ่านแล้วคุณจะทราบได้ว่า accessibility มันเป็นรากเหง้ารากฐานในการสร้าง หรือ พัฒนา website อย่างแท้จริง และ มันก็เป็นสิ่งที่คุณไม่ควรทิ้งหรือข้ามไม่ทำมันไป มันต้องเริ่มตั้งแต่การคิดที่จะออกแบบ และ พัฒนา website

James Edwards, กล่าวไว้ในบทความ Why Accessibility? Because It’s Our Job! ว่า

“ถ้าเราเรียกตัวเองว่าเราเป็นมือโปร และ ก็ทำงานได้เต็มที่สุดยอดและถูกต้องที่สุดแล้วล่ะก็ เราก็ต้องให้ความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าของเรา, ลูกค้าของลูกค้าของเรา และ ตัวเราเองด้วย เหมือนกับ เชฟที่ต้องคำนึงถึงสุขภาพของลูกค้า วิศวะกรที่ต้องคำนึงความปลอดภัยของสิ่งปลูกสร้าง และ พวกเรา ก็ต้องคำนึงถึง accessibility”

ลับสมองไปกับ float ตอนที่ 1

browser ทุกวันนี้ ต่างก็ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เราสร้าง layout จาก css ได้ง่ายมากขึ้นด้วย float เป็นทางเลือกหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการวาง layout ด้วย css แต่มันก็ไม่ใช่ทางออกทางเดียวนะครับ เพียงแต่ว่ามันง่ายในการใช้งาน ง่ายในการควบคุม เลยทำให้เป็นที่นิยมกันแพร่หลายมากกว่าวิธีอื่น ๆ

จากที่โอ๊ตเขียนไปเมื่อหลายเดือนก่อน ในบทความ “แนวทาง ในการแก้ไขปัญหา Float Model” ในส่วนของ css hack นั้น วันนี้ผมจะพูดถึง float จาก basic ไม่รู้ว่าจะง่ายพอเข้าใจ หรือ ทำให้งงกันไปใหญ่ ไม่รู้นะ เพราะหลายอาทิตย์ที่ผ่านมานั้น ใน webboard กับหลายคำถามที่ผมได้เข้าไปอ่าน ตอบบ้างไม่ตอบบ้างไม่ว่ากันนะ ยังเห็นว่าเป็นปัญหาเดียวกันอยู่ ซึ่งหลาย ๆ คนเห็นเป็นสิ่งที่งอกง่อยควรมองข้ามไป แต่ฐางคนเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่ดีในการปูพื้นเพื่อพัฒนาตนเองนะครับ (พออ่านถึงตอนนี้มีใครเดือดดาล ก็กด “9” หรือ ชื่นชอบกด “4” กด กด กด) จุดประสงค์จริง ๆ แล้ว คืออยากจะปูพื้นฐานให้แน่น ๆ กันมากกว่า ไม่อยากฝึกให้ทำอะไรฉาบฉวยพอเอาตัวรอด พอทำได้ ภาษาบ้านผมเรียก “พอก่ำก่า” “พอกะเทิน” “โชว์กล้ามดาก” หรือ คนกรุงเรียก “เกรียน” นั่นเอง แล้วไปบอกว่าเอ้ย กูทำได้ กูเก่ง …. (ช่าง “ตื๊ดดด” พวกเขาเถอะครับ) เข้าเรื่องดีกว่า

รู้จักกับ Microformats

ไม่ทราบว่าเคยได้ยินกันบ้างหรือยังกับคำคำนี้ Microformats และ งงกันบ้างไหมครับว่ามันคืออะไร ทำงานอย่างไร สำหรับเราหลาย ๆ คนคงเป็นเรื่องใหม่ ที่จะเข้ามาปั่นหัวให้วุ่นวายกันอีกแน่ Microformats เป็น “กลุ่มของข้อมูล ที่นำเอามาตรฐานเข้ามาใช้ ที่ถูกออกแบบโครงสร้างมาให้เป็นประโยชน์ต่อ มนุษย์ มากกว่า จักรกล” อย่างไรนะเหรอ? ในอนาคตอีกไม่นานนี้ (ในประเทศไทย) จะได้รู้ถึงคุณประโยชน์ของมันอย่างแน่นอน เมื่อ ICT รู้จักทำประโยชน์ให้ประเทศ รู้จักมองถึงปัญหาที่เกิดเกี่ยวกับโลก cyber อย่างแท้จริง รู้จักมองถึงประชาชนในประเทศ และ รักษาสิทธิ์ที่พวกเราพึงจะได้มากกว่านี้ … ทำไมผมถึงพูดออกมาอย่างนั้น ทำไมน่ะเหรอ เอาไว้จะสาธยายให้ฟัง หลังจากอธิบายเกี่ยวกับ Microformats ก่อนก็แล้วกันครับ

Microformats นั้นหมายถึงการใช้ Standard ที่เรารัก (ไม่รู้ว่ารักจริงไหมนะ เฉพาะชาว ThaiCSS หรือเปล่า?) ให้มีความหมายมากที่สุด (semantic มากที่สุด) เท่าที่จะทำได้ มองง่าย ๆ ไปเลยเสียว่า มันคือแบบฝึกหัดในการทำให้ Website ของคุณนั้นมี Accessibility ที่สูง ๆ นั่นเอง Microformats ใช้ XHTML tags หลาย ๆ ตัวเช่น address, cite และ blockquote และ XHTML attributes หลาย ๆ ตัวเช่น rel, rev และ title เอามาทำให้ข้อมูลของคุณนั้นเกิดความหมาย เกิดประโยชน์มากที่สุด (ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ คุณมีความคิดในใจเกิดขึ้นว่า อะไรของมันวะเดี๋ยว tags เดี๋ยว attributes ให้ลองอ่าน ความหมายของมันในกระทู้นี้ Microformats ใช้ยากไหม? ไม่ยากครับ มันใช้ tags และ attribute ที่เราคุ้นเคยนี่แหละ นำมาใช้ในทางที่ดีที่สุด เกิดประโยชน์ที่สุด

การจัดการ font ในเอกสาร XHTML โดยใช้ CSS

เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าขนาด default ของ font ในแต่ละ browser เวลาที่เรากด small, smaller, medium, larger และ largest นั้นอยู่ในหน่วย % คือ 90%, 100%, 110% และ 120% แต่ขนาด zoom นั้นจะเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละ browser

HTML5 XHTML2 และ อนาคตของเวป (3)

W3C กับ HTML

W3C ได้เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้พัฒนาอื่น ๆ ที่สนใจได้เข้ามาพัฒนา HTML ต่อจากตัว W3C เอง ซึ่งทาง W3C เองนั้นจะเริ่มการพัฒนา XHTML 2  ต่อ โดยกลุ่มที่นำ HTML ไปพัฒนาต่อนี้ได้แยกออกจาก W3C โดยสิ้นเชิง และ ประกาศสถาปนาตนเป็นองค์กรใหม่ภายใต้ชื่อว่า WHATWG ดังใน บทความตอนก่อนหน้าที่ผมได้กล่าวเอาไว้ ซึ่ง WHATWG นี้นำโดย Chris Wilson ผู้พัฒนา Platform ของ Internet Explorer และ Dan Connolly แห่ง W3C (ทีนี้ พอจะได้คำตอบในสิ่งที่ผมถามไว้คราวที่แล้วแล้ว หรือ ยัง ให้ลองอ่าน บทวิจารณ์ของ พร ไม่ว่าจะใน blog ส่วนตัว ใน บทความก่อนหน้าของผม และ ในบทความ web standard บนเวทีการเมือง ซึ่งล้วนแล้วเกี่ยวเนื่องกันทั้งสิ้น)

Back to Top