web standards หน้า 2 |

Tag: web standards

รู้จัก และ เข้าใจใน Web Standards 2

Part 2: คิดและมองอย่าง วิศวกร

วิศวกรต่างรังสรรค์ผลงานต่าง ๆ ตามหลักวิธีการ และ บรรทัดฐานที่แน่นอน ปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ และ มีจุดประสงค์จุดมุ่งหมายที่แน่วแน่ เช่น ไม้กระดานฝาบ้านต้องเรียงต่อกันอย่างเป็นระบบระเบียบ กำแพงต้องตั้งฉากกับพื้น เกียร์ต้องประกอบด้วยเฟืองที่ทำงานร่วมกันอย่างเป็นสัดเป็นส่วน

วิศวกรจะคิดคำนวณวิธีการ และ แนวทางแก้ไขปัญหาต่าง หรือ วิเคราะห์การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการสร้างงานของพวกเขาอย่างรอบคอบที่สุด ค่อย ๆ สร้าง ค่อย ๆ ดำเนินตามขั้นตอนไปที่ละขั้นเพื่อลดความเสี่ยง และ ได้ผลงานที่เป็นมาตรฐาน ด้วยการทำความเข้าใจในปัญหา เครื่องมือ และ อุปกรณ์ที่จะต้องใช้ในการทำงานในแต่ละครั้งอย่างพิถีพิถันและรอบคอบ

รู้จัก และ เข้าใจใน Web Standards

เพื่อน ๆ Designer หลายท่าน รวมถึงผมนั้น ต่างรังสรรค์ผลงานของตนเองมาจากความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะล้วน ๆ คงไม่มีใครปฏิเสธว่า เราจะมองงานของเราโดยรวมนั้นเป็นภาพ ๆ หนึ่งซึ่งเราจะปรุงเสริมเติมแต่งลงไปอย่างไร ส่วนการ code นั้นแทบจะไม่มีการได้คำนึงถึงเลย เราบางคนใช้ XHTML และ CSS ไปเรื่อยเปื่อยแบบตามมีตามเกิด จะมีใครบ้างที่เกิดความสงสัย ใคร่รู้ว่า ความหมายโดยแท้จริงนั้นมันมีอะไรอยู่บ้าง เราเพียงแต่คิดว่าเราจะเรียงกล่องเหล่านั้นออกมาให้สวยงามอย่างไร เคยคิดที่จะศึกษาธรรมชาติของมันโดยแท้จริงไหม CSS กับการคิดนอกกรอบ (สี่เหลี่ยม ตอนที่ 1) และ CSS กับการคิดนอกกรอบ (สี่เหลี่ยม ตอนที่ 2) ส่วนใหญ่โดยธรรมชาติของพวกเราแล้วเราเพียงแต่คิดง่าย ๆ ว่า ขอแค่มันออกมาดูดีก็เป็นพอแล้ว คงเป็นส่วนน้อยที่อยากจะศึกษาให้เข้าใจถึงแก่นแท้ของ Web Standards นั้นเพื่อที่จะนำผลประโยชน์ที่จะได้มาใช้ให้เกิดผลกับงานของตนเอง และ ผู้ใช้ให้มากที่สุด

เราคงต้องจัดลำดับความคิดของเราใหม่หากเราต้องการที่จะเรียนรู้ และ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Web Standards ทำไม? เพราะเราต้องคำนึงถึงในทุก ๆ รายละเอียดก่อนที่จะนำเสนอทุก ๆ อย่างที่เราต้องการจะสื่อออกไป เพราะทุก ๆ อย่างละเอียดอ่อน, มีความหมาย และ มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง scope ง่าย ๆ คือ เราต้องมอง และ คิดในแง่มุมที่แตกต่างไป โดยหลัก ๆ แล้วมีดังนี้

  1. คิดและมองอย่าง นักเขียน
  2. คิดและมองอย่าง วิศวกร
  3. คิดและมองอย่าง ศิลปิน

Web Standards

หลังจากที่ได้พูดถึง Web Standard ไปแล้ว คราวนี้ ผมขอพูดถึง Web Standards กันบ้าง อ้า อย่าเพิ่งงง ครับ 2 คำด้านบน มันต่างกันที่ เอกพจน์ กับ พหุพจน์ แน่นอนว่า Web Standards มันไม่ได้มี มาตรฐานเดียว มันมีหลายมาตรฐาน ตามลักษณะของภาษาและการใช้งาน ซึ่งจากที่ผมเคยพูดมาทั้งหมด ผมอาศัยข้อมูลอ้างอิงจาก W3C (World Wide Web Consortium) และ WaSP (The Web Standards Project)

โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับมาตรฐานของแต่ละภาษาและแต่ละเวอร์ชั่น คร่าวๆ ดังต่อไปนี้

Structural and Semantic Languages

Web Standard 2 : MSIE(6) vs. Others

ทำไมถึงบอกว่า เขาคือยักษ์หลับ ย้อนเวลาไปเนิ่นนาน หลังจากที่ ไมโครซอฟท์ไล่กวดหลัง America Online (Netscape) และแซงไป ทิ้งแต่ฝุ่นให้ Netscape ได้สำลักเล่น

เกิน 90% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ส่วนใหญ่ทั่วโลกสนใจ หันมาใช้ IE กันถ้วนหน้า และไมโครซอฟท์ ก็หยิ่งผยอง เพิกเฉยต่อการปรับเปลี่ยนเวอร์ชั่น หลังจากปล่อย IE6 ออกมา สิ่งเดียวที่ไมโครซอฟท์ทำคือการตามอุดรูรั่วต่างๆ ของบราวเซอร์ตัวเอง โดยที่ให้ความสำคัญกับ องค์กรกลางอย่าง W3C น้อยเกินความจำเป็น

Back to Top