Web Standards

หลังจากที่ได้พูดถึง Web Standard ไปแล้ว คราวนี้ ผมขอพูดถึง Web Standards กันบ้าง อ้า อย่าเพิ่งงง ครับ 2 คำด้านบน มันต่างกันที่ เอกพจน์ กับ พหุพจน์ แน่นอนว่า Web Standards มันไม่ได้มี มาตรฐานเดียว มันมีหลายมาตรฐาน ตามลักษณะของภาษาและการใช้งาน ซึ่งจากที่ผมเคยพูดมาทั้งหมด ผมอาศัยข้อมูลอ้างอิงจาก W3C (World Wide Web Consortium) และ WaSP (The Web Standards Project)

โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับมาตรฐานของแต่ละภาษาและแต่ละเวอร์ชั่น คร่าวๆ ดังต่อไปนี้

Structural and Semantic Languages

Hypertext Markup Language (HTML) 4.01

Extensible Hypertext Markup Language (XHTML) 1.0

Extensible Markup Language (XML) 1.0
Presentation Languages

Cascading Style Sheets (CSS) level 1

CSS level 2 revision 1

CSS level 3 (CRs or better)
Object Models

Document Object Model (DOM) level 1

DOM Level 2 (HTML, Core, Events, Traversal)

DOM Level 3 (Core)
Scripting Languages

ECMAScript 262 (เวอร์ชั่นมาตรฐานของ JavaScript)

( ที่มา WaSP)

ถ้าถามว่า ต้องใช้ทุกมาตรฐาน ทั้งหมดที่กล่าวมานั่นหรือ คำตอบคือ ใช่ ถ้างานที่คุณทำมันเกี่ยวข้องกับ ภาษาที่ผมยกมาข้างบน

ผมไม่คิดว่า คนทำเว็บคนเดียว จะต้องทำได้หมดทุกมาตรฐาน แต่ขอเพียงแค่รู้และเข้าใจ ในแต่ละมาตรฐาน ในส่วนที่ตนเองทำงานอยู่ ดูแลอยู่ก็เพียงพอ

เช่น CSS Designer อย่างน้อยต้องรู้หลักการใช้ CSS ร่วมกับ XHTML อย่างถูกวิธี และถูกหลัก แหกได้บ้าง ถ้าบางบราวเซอร์ มันห่วย

หรือ Java Programmer ที่ต้องเขียน หรือใช้ DOM ก็ต้องรู้ว่า หลักการเขียนโดยพื้นฐานและมาตรฐาน มันยังไง และจะเขียนให้เข้ากันกับ XML ได้ยังไง

ถ้าทุกฝ่ายมีความสามารถโดยพื้นฐานที่เข้าใจหลักมาตรฐานอยู่แล้ว หลังจากนั้นมันก็คงไม่มีปัญหา

การที่เมืองไทยยังมีเหตุการณ์ เว็บดีไซน์ กับโปรแกรมเมอร์ เกี่ยงงานกัน หรือตบตีกันอยู่ว่าหน้าที่นี้ หน้าที่นั้นมันเป็นของใคร มันเป็นเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องมากกว่า

เรามาดูว่าแต่ละคนทำงานของตัวเองเข้า มาตรฐานกันหรือยัง ดีกว่ามั้ย

อย่างน้อย เว็บดีไซน์ ที่หั่นงานออกมาจากโฟโต้ฉอป ก็ต้องรู้ว่า ไอ้ตัวขยึกขยือ ที่อยู่ด้านหลังนั้น มันคืออะไร HTML หรือ XHTML อะไร เวอร์ชั่นไหน

มี DOCTYPE บ่งบอกมาตรฐานของหน้าเว็บนั้นๆ หรือไม่

ถ้าตกลงกัน หรือกำหนดได้แล้ว ก็มาคุยกับโปรแกรมเมอร์ต่อ ว่าต้องให้เขียน ภาษาตามที่ DOCTYPE กำหนดนะ ไม่งั้นหน้าเว็บมันเพี้ยนแน่ๆ

แต่อาการ <!– No Doctype for IE <= 6 –> นี่ ผมแค่สงสัยว่า ยังมีผู้ใช้ IE5 เข้าเว็บคุณอยู่หรือไม่

อาจจะมี ผมก็ขออภัยมาด้วย สำหรับเว็บที่ต้อง <!– No Doctype for IE <= 6 –>

ผมคิดว่า ปัจจุบันเราคงไม่ต้องมาเขียนเว็บแบบ Quirks mode กันหรอกนะ ถ้ามันไม่จำเป็นหรือทำให้คอขาดบาดตาย เพราะ บราวเซอร์สามารถเข้าเว็บแบบ Strict mode กันได้เกือบหมดแล้ว
แต่ถ้าใครคิดว่ามันต้องเขียน ผมก็ ขออภัยอีกครั้ง ที่พูดผิด

จะเอามาตรฐานอะไรกันบ้าง ก็ขึ้นอยู่กับภาพรวมของระบบงาน และการเข้ากันได้ของภาษา อาจจะเริ่มกันที่ เข้ามารตรฐาน HTML 4.01 ก่อน เพื่อที่ต้องรอ โปรแกรมเมอร์ ปรับปรุงโครงสร้างโปรแกรมทั้งหลายให้สามารถเดินไปที่ XHTML 1.0 ได้ แล้วจึงค่อยปรับเปลี่ยนกันไป

หลายคนอาจจะบอกว่า “ลูกค้าไม่ต้องการ คนยังไม่สนใจ”

แต่ผมอยากจะถามว่า

“ลูกค้าไม่ต้องการ หรือตัวเราเองไม่อยากพัฒนาศักยภาพและฝีมือตัวเองให้ทัดเทียมกับต่างชาติกันแน่”

อย่างน้อยมันก็เป็นการเริ่มต้นสร้างมาตรฐานให้เป็นตัวอย่างแก่คนรุ่นต่อไป ดีกว่าเกิดมา สืบพันธุ์แล้วตายเป็นไหนๆ

หรือคุณว่าไงครับ

Back to Top

6 Responses to Web Standards

  1. Pingback: รู้จัก และ เข้าใจใน Web Standards

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Back to Top