วิวัฒน์

Tag: วิวัฒน์

วิวัฒน์ของเว็บ ณ คศ. 2009

กลับมาแล้ว :) ต้องขอโทษที่หายไปนานครับผม แต่สำหรับคนที่ follow ผมที่ Twitter หรือ อยู่ใน Facebook คงได้เห็นผม re-tweet หรือ share link บทความคนอื่นที่คิดว่าเป็นประโยชน์ให้อ่านอยู่นานนม เวลาในชีวิตมันคับแคบอึดอัดไปหน่อยต้องขออภัยมา ณ​ ที่นี้ด้วยนะครับ ช่วงที่หายไปก็ไปขุดคุ้ยทำงาน หมกมุ่นอยู่กับเทคโนโลยีที่มันผุดขึ้นมาใหม่ แล้วก็กระแส User Experience พิวัฒน์ในโลกกว้างทำให้ศาสตร์ต่าง ๆ เริ่ม ๆ เกิดขึ้นมาใหม่ หรือ บางอย่างที่มีมานานนมแล้วแต่ยังไม่ได้ บัญญัติ จำกัดความไว้ ก็ได้คำบัญัติ จำกัดความกันเสียที วันนี้ผมก็มาเขียนข่าว เชิงบ่น เป็น guideline แจ้งแถลงให้ได้รับรู้ว่าเราขยับกันไปที่ไหนกันได้บ้างแล้ว

ในสายงานการผลิตผมก็ขอพูดเต็ม ๆ ปากเสียทีว่า ขอต้อนรับเข้าสู่โลกของการทำงานเชิงวัตถุ จากที่ผมได้พูดคุย ถกปัญหา และ วิเคราะห์ร่วมกับพร (@pornAntha) เมื่อ W3C ได้ประกาศเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะใช้กับ www มาเรื่อย ๆ เช่น EmotionML, HTML5 และ CSS3 จะเห็นได้ว่ามันเริ่มจะยาก และ ลงลึก และ ทำงานได้ละเอียดลึกซึ้งเชื่อมกันเป็นทอด ๆ ต่อไปนี้เราจะทำงานแยกเป็น unit กันชัดเจนมากขึ้นเพราะเทคโนโลยีบนโลก www นั้นเริ่มลึกซึ้งกันไปเรื่อย ๆ ยอดมนุษย์ (ในที่นี่ผมหมายถึง all in one people หรือ generalist) จะเริ่มลดลงคุณจะเห็นว่าหลาย ๆ บริษัทเริ่มที่จะทำงานแยกสัดส่วนกันชัดเจนแล้ว (ผมขอกล่าวถึงแต่อาชีพใหม่ และ อาชีพที่ต้อง update นะครับ) เช่น

เมื่อไหร่ จะเกิดการวิวัฒน์ อย่างถ่องแท้

ผมพยายามนั่งดู ความเป็นไปในวงการผู้ประกอบกิจการ ผู้ทำงานเกี่ยวกับ Website ในบ้านเราอยู่เป็นเวลานานพอสมควร เรียกว่าในระยะหนึ่งได้ และ สิ่งที่คิด และ เขียนออกมานั้นอาจจะเป็นความคิดที่เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ หลาย ๆคนคิดกันไว้อยู่แล้วก็เป็นได้ ผมไม่อาจทราบได้เลยว่าปัญหาที่มันเกิดมันเกิดขึ้นเพราะ ระบอบสังคม วัฒธรรม ของบ้านเราหรือไม่ ที่ทำให้ทุก ๆ สิ่ง ทุก ๆ อย่างกลายมาเป็นเฉกเช่นทุกวันนี้ บริษัทที่อยากประกอบธุรกิจบนโลก online, Agency และ Freelancer หลาย ๆ แห่งในไทยกำลังย่ำอยู่กับบางสิ่งที่เขาเองเรียกว่าการพัฒนา สิ่งที่เขาเองเรียกว่า เขาทำได้ และ เข้าใจได้ถ่องแท้แล้ว นำมาประพฤติปฏิบัติกับลูกค้า หรือ งานของตน ซึ่งบางเรื่องเป็นเรื่องที่ควรหยิบยื่นให้โดยไม่จำเป็นต้องร้องขอค่าบริการ เลยก็ได้ เป็นเรื่องง่าย ๆ ที่ถ้าลูกค้าเขามาอ่านใน Internet เจอเอง หรือ วันหนึ่งเมื่อเขาเข้าใจได้เอง อาจจะทำได้เองโดยไม่ต้องร้องขอ สิ่งเหล่านี้ หรือ หันไปใช้บริการของฟรีจากที่อื่น ที่มีประสิทธิภาพ และ ผลลัพธ์เหมือนกัน ผมขอใช้คำนิยามเรื่องราวแบบนี้ว่า “การเอาเปรียบ” อันนี้รวมไปถึงกระทั่งบริษัทที่ประกอบธุรกิจ online / Agency ปฏิบัติต่อกันและกัน หรือปฏิบัติต่อ Freelancer เช่นเดียวกันรวมไปถึง Freelancer ปฏิบัติต่อ Freelancer ด้วยกันเองอีกด้วย

เมื่อ Semantic กำลังใกล้เข้ามา (ภาค1)

60 ปีที่แล้ว Digital Computer ทำให้ข้อมูลของเราอ่านได้ 20 ปีที่แล้ว Internet ทำให้ข้อมูลเหล่านั้นง่ายต่อการเข้าถึง 10 ปีที่แล้ว search engine crawler ตัวแรกถือกำเนิดขึ้นจาก database เพียงตัวเดียว Google ทำให้หลาย ๆ องค์ประกอบ ทฤษฎีในทัศนคติเป็นจริง Google ในทุก ๆ วันนี้กลายเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรม ไม่ว่าใครต่อใครก็ต้องใช้ Google ฝังลึกหยั่งรากลงไปมากกว่าที่เราจะทันรู้ตัว

ข้อมูลมากมายมหาศาลเหล่านั้น ที่ Google เก็บมาไว้ใน database ของตน เมื่อ 10 ปีที่แล้วหลาย ๆ คนคงอาจจะมองว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาไร้สาระ แต่ในทุกวันนี้ผมคิดว่าแม้กระทั่ง 1 ตัวอักษร Google ก็ขายได้ มองย้อนกลับไปในยุคของ Kilobytes ข้อมูลจะถูกจัดเก็บบันทึกลงใน Floppy Disk ผมยังจำได้เวลาไปโรงเรียนเราจะพกแผ่น Floppy Disk ทั้งหลายเหล่านี้ไว้สำหรับ class ที่ต้องเรียน Computer ตั้งแต่ยังต้องท่องจำ Command Line ต่าง ๆ เพื่อที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามที่ใจเราอยาก ต่อมาเป็นยุคของ Megabytes ข้อมูลทุก ๆ อย่างถูกเก็บลงใน Hard Disk และ มันก็ถูกพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนสามารถเก็บข้อมูลได้เป็น Terabytes โดยที่ตัวมันเองก็เท่าเดิม แต่ใช้ Disk Array ในการจัดเก็บข้อมูลลงไป แล้วยุคของ Petabytes ล่ะจะจัดเก็บลงไปที่ไหน? มันจะถูกจัดเก็บลงไปใน Cloud (Cloud ในที่นี้คือ กลุ่มของ Supercomputer ที่จัดเก็บ Application และ ข้อมูลที่ถูกติดตั้งไว้ในทุกที่ ทุกมุมของโลก) ลองนึกดูว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าข้อมูลขนาด 1 Petabytes ถูกเก็บลงในฐานข้อมูลของ Google ทุก ๆ 72 นาที

Back to Top