บทความพิเศษ

อยากเปลี่ยนแนว มาทำ UX

กว่าสองปีที่ผมได้เริ่มจับต้องการทำ UX จริงๆ จังๆ แต่ก็ยังเป็นการทำ UX ในแบบฉบับของเรา เพราะว่าเราทำเพื่อผู้ใช้งานของเรา ไม่มีความจำเป็นอันใดที่ต้องเราต้องทำตามสิ่งที่คนอื่นบอก หรือตามหนังสือต่างๆ ที่เขาแนะนำมาร้อยเปอร์เซ็นเป๊ะ การปรับปรุงให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในการทำงานของเราเองถือเป็นทางเลือกที่ง่ายในการเริ่มต้นเรียนรู้พร้อมๆ กันเป็นทีม UX ไม่ใช่แค่ทำ Wireframe

Front-End Engineer เร็วส์ แรง แม่นยำ

ไม่ใช่เฉพาะคนที่จะมาเป็น Front-end Engineer เท่านั้นที่ต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ ทุกๆ คนที่มีส่วนร่วมก็ต้องพึงระลึกไว้เสมอ เวลาที่เราต้องเริ่มเขียน CSS หรือ JavaScript สิ่งที่ต้องระมัดระวังในเรื่องนี้ก็คือ ขยะที่เกิดจากการไม่ได้วางแผนที่ดีก่อนที่จะลงมือเขียน ผมขอแนะนำก่อนที่จะลงมือเขียนเหี้ย ห่าอะไรลงไป ให้วางโครงสร้างการ import และการรวมไฟล์เอาไว้ก่อน

ชีวิต Front-End ไม่ได้ง่าย แต่ก็ไม่มีใครบอกว่ามันยาก

ยังจำกันได้ไหมสมัยเก่าที่เรายังนั่งใช้ image ready ตัด HTML และ CSS ออกมาจาก Adobe Photoshop แล้วก็ส่งต่อหน้าเว็บไปให้ Programer จัดการ ถัดมาไม่นานเราก็เริ่มมีมนุษย์จำพวกเขียน div เข้ามาแทน ดริ๊ฟท์กันกระจายกลายเป็นเมืองแห่ง div ถือได้ว่าเฟื่องฟูครับ เฟื่องฟูมากกับการรับตัดหน้าเว็บด้วย div ราคาหน้าละสามร้อยห้าสิบบาท เรียกได้ว่าวงการสั่นสะเทือนเลือนลั่น พร้อมๆ กับการย้อมแมวว่าเขียน div แล้ว SEO มากันเพียบแน่นอน Google เจอเราภายใน 800 มิลลิเซคคั่น

มันช่างยาวนาน และเรายังไม่ตาย

อย่ากระนั้นเลยพี่ข้า แม้เนื้อหา เรื่องราวจะคับใจ แน่นอกแต่เราก็ไม่มีเวลามายกออก อาจเป็นเพราะการงานที่บีบรัดจนไข่เขียวจึงทำให้เราไม่มีเวลา หรือการร่ำสุราทำให้เราต้องหายหน้าไปจากหน้าเว็บแห่งนี้

หนึ่งปีกับอีกสิบกว่าวันที่ ThaiCSS ไม่ได้อัพเดทแม้แต่บทความเดียว มันช่างน่าละอายใจยิ่งนักกับความสันหลังยาวของกระผมเอง ซึ่งบทความก่อนหน้าที่เขียนเอาไว้ก็ตั้งแต่วันที่ 9 เดือน 11 ปี 2012 โน่น

เริ่มจริงจังกับการเรียนรู้พื้นฐาน CSS กันเถิด

หลังจากที่ผมเขียนเรื่อง “แนวทางการเรียนรู้ CSS3 และ HTML5 ให้เกิดประโยชน์สูงสุด” เอาไว้เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา (2010) ถึงตอนนี้ผมยังคิดว่าแม้กระทั่งผู้เขียนอย่างผมเองยังต้องตั้งคำถามกับตัวเอง ว่าเรานั้นไปตามเส้นทางแบบนั้นอย่างจริงจังหรือไม่

บทความที่ว่าก่อนหน้านั่นอาจจะดูคร่าวๆ ไปหน่อยสำหรับผู้ที่เริ่มจากพื้นฐานจริงๆ

วันนี้ผมมีเรื่องราวที่แยกย่อยลงไปเพื่อนำมาบอกเล่าแลกเปลี่ยนกันเพิ่มเติมครับ ซึ่งเรื่องราวนี้จะมุ่งเน้นไปยัง “หลักการการเรียนรู้ แยกแยะ จดจำ วีธีการทำงานของ CSS3 หรือ CSS4”

ตามที่เรารู้กันเป็นอย่างดี ในความแตกต่างของ CSS2 กับ CSS3 แต่เอ๊ะ ใครยังไม่รู้ความแตกต่างบางข้อที่ทำให้ภาษานี้แตกต่างกันอย่างมากขอรับ ยกมือหน่อย “ผมรู้ว่าคุณยกมือในใจ”

CSS แบบไม่ไปไหน มาไหน

ความอึดอัดที่เกิดขึ้นหลังจากมองมายัง Drafts ของบทความที่รายเรียงอยู่ พลอยทำให้หมดอาลัยตายอยากกับความคึกคะนองครั้งก่อน ส่วนหนึ่งนั้นเป็นเหตุจากความเกียจคร้านที่มักจะเดินสวนทางกับอายุที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมกับหงุดหงิดที่ บราวเซอร์ทั้งหลายนั้นมันไม่ยอมแสดงผล ไม่รองรับ CSS เวอร์ชั่นใหม่ๆ เท่าใดนัก พลอยทำให้บทความที่เริ่มเขียนไปได้ครึ่งทาง ก็ค้างไว้อย่างนั้น ต้องรอ รอจนกว่าบราวเซอร์เหล่านั้น จะเดินทางมาพร้อมกัน

อาจจะใช้เวลา สามปี ห้าปี หรือสิบปี ก็ค่อยๆ ว่ากัน

มีหลายสาเหตุที่ ThaiCSS ไม่ได้อัพเดทบทความ ซึ่งสาเหตุที่ไม่สามารถเอามาอ้างได้คงไม่ใช่ไม่มีเวลา แต่สาเหตุหลักอาจจะเป็นเพราะความขี้เกียจมากกว่า เอากันง่ายๆ อย่างนี้แหละ (ซึ่งสาเหตุจริงๆ มันอาจจะมากกว่าความขี้เกียจ) ตอบให้เกรียนปากไปเลย

หลายท่านถามใถ่มา ว่าบทความใหม่เมื่อไหร่คลอด ตัวผมเองนั้นก็คงยังตอบไม่ได้ ไปเรื่อยๆ อย่างนี้ก่อน เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น หรืออาจจะไม่มีมาอีกเลย

ผมอาจจะต้องหนีหายไปหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ ในการนำเสนอเรื่องราวของ CSS นี้ มิใช่เพื่อผู้เสพ แต่เพื่อความคึกคะนองของผู้เขียนเอง

อยากจะทำอะไรหลายๆ อย่างกับเว็บนี้ แต่พอถึงเวลามันก็เป็นเพียงแค่ อยากจะ … เท่านั้น รอก่อน รอไปเรื่อยๆ

มีความสุขกับการใช้ชีวิตครับ

Back to Top