selectors

Tag: selectors

ลำดับความสำคัญของ Selectors ใน CSS

เรื่องราวสั้นๆ ว่าด้วยหลักการคำนวณและเรียงลำดับความสำคัญของ CSS Selectors เพื่อการแสดงผล ก่อน หลังในการสั่งงาน

CSS มีกฎการลำดับความสำคัญของการใช้ Selectors ควบคุมอยู่ ความสำคัญมาก สำคัญน้อย ขึ้นอยู่กับผลรวมคะแนนของ Selectors ในแต่ละชุด โดยใช้กฎการนับเลขเข้ามาช่วย มี 3 หลัก คือ หลักร้อย หลักสิบ หลักหน่วย

CSS Selectors #10: Pseudo-Elements และ Combinators

หลังจากหายไป สามเดือนกว่าๆ วันนี้เราก็กลับมาพร้อมตอนสุดท้ายและล่าสุดของรายการ

พูดถึงเรื่อง Pseudo-Elements และ Combinators นะครับ ไม่ว่าจะเป็น ::first-line, ::first-letter, ::before, ::after, Descendant combinator (E F), Child combinator (E>F), Adjacent sibling combinator (E+F) และ General sibling combinator (E~F)

เรายังยืนหยัดในความมีสาระน้อย แต่พูดคำว่า “ครับ” มากมายเหมือนเดิม

CSS Selectors #8 – Structural Pseudo-Classes+The Negation Pseudo-Class

เร่เข้ามาพ่อแม่พี่น้อง ThaiCSS TV รายการ สบาย สบายกับ CSS Selectors ตอนที่ 8 เดินทางมาถึงแล้วครับ

สำหรับตอนนี้ยังอยู่ในเรื่องของ Structural Pseudo-Classes อีกนิดหน่อย ในเรื่องของ :first-child / :last-Child / :first-of-type / :last-of-type / :empty และผมขอแถมด้วยเรื่องการใช้ The Negation Pseudo Class อย่าง :not() อีก 1 ตัวครับ

ผมอาจจะพูดไม่ระเอียดหรือยกตัวอย่างให้ดูมากมายนัก อยากจะให้เราๆ ท่านๆ ได้ลองเขียนดูเองกับมือ จะได้เห็นกับตาว่าจริงๆ แล้วมันเป็นอย่างที่ผมพูดหรือไม่

CSS Selectors #7 Structural Pseudo-Classes

**แก้ไขจากที่พูดไว้ ผิด 1 ที่ครับ คือเรื่องของ li ตัวที่ 4 14 24 จากการเขียน (4n) เป็น (10n-6) ถึงจะแสดงผลได้แบบนั้น และการเขียน (4n) นั้นจะแสดงผล 4 8 12 16 ไปเรื่อยๆ คือข้ามทีละ 4 นะครับ

พร อันทะ ต้องขออภับในความผิดพลาดมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

เริ่มจริงจังกับการเรียนรู้พื้นฐาน CSS กันเถิด

หลังจากที่ผมเขียนเรื่อง “แนวทางการเรียนรู้ CSS3 และ HTML5 ให้เกิดประโยชน์สูงสุด” เอาไว้เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา (2010) ถึงตอนนี้ผมยังคิดว่าแม้กระทั่งผู้เขียนอย่างผมเองยังต้องตั้งคำถามกับตัวเอง ว่าเรานั้นไปตามเส้นทางแบบนั้นอย่างจริงจังหรือไม่

บทความที่ว่าก่อนหน้านั่นอาจจะดูคร่าวๆ ไปหน่อยสำหรับผู้ที่เริ่มจากพื้นฐานจริงๆ

วันนี้ผมมีเรื่องราวที่แยกย่อยลงไปเพื่อนำมาบอกเล่าแลกเปลี่ยนกันเพิ่มเติมครับ ซึ่งเรื่องราวนี้จะมุ่งเน้นไปยัง “หลักการการเรียนรู้ แยกแยะ จดจำ วีธีการทำงานของ CSS3 หรือ CSS4”

ตามที่เรารู้กันเป็นอย่างดี ในความแตกต่างของ CSS2 กับ CSS3 แต่เอ๊ะ ใครยังไม่รู้ความแตกต่างบางข้อที่ทำให้ภาษานี้แตกต่างกันอย่างมากขอรับ ยกมือหน่อย “ผมรู้ว่าคุณยกมือในใจ”

CSS Selectors #6 : Pseudo-Classes

สบาย สบายกับ CSS Selectors เดินทางมาถึงตอนที่ 6 แล้วครับพี่น้อง สำหรับในตอนนี้ ขอนำเสนอเรื่องของ Pseudo-Classes โดยเรายังอยู่ที่วังน้ำเขียวเก็บเกี่ยวอ๊อกซิเย่นกันกลางป่าเช่นเคย

ความยาวของตอนนี้อาจจะยาวไปนิด ถ้าผมเลือกเอาทั้งหมดที่ถ่ายทำไว้มา คงจะยาวกว่านี้เป็นแน่แท้ จึงตัดทิ้งไปบางส่วน ช่วงท้ายๆ จึงได้พูดเร็วกว่าปกติ

Back to Top