รู้จัก XHTML Basic 1.1 (ตอนที่ 2)

เมื่อเดือนที่แล้วมีข่าวดีของคนรัก iPhone คือ App Store ได้อนุญาติให้มี 3rd party web browser ที่สามารถ install ลงในเครื่อง iPhone ได้แล้ว ผมเองก็ได้แต่เฝ้ารอดูอยู่ว่ามันจะออกมาในรูปแบบใด อย่างว่า … ถ้าว่ากันด้วยเรื่องการตลาด และ ธุรกิจแล้ว iPhone กำลังจะครอบงำ trend การทำเวปสำหรับ mobile device หรือเปล่า (ลองจับตาดูกัน) เพราะในแง่ความคิดผมแล้วมันเป็นอะไรที่มาแรงเหลือเกินฉุดไม่อยู่จริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ใดของ Apple มันมักจะสวนกระแส ป่วนกระแส และ สุดท้ายสร้างกระแสได้ดีเสมอ กลับมาต่อกันด้วยเรื่องของเรา จากที่ผมติดค้างไว้ เมื่อปีที่แล้ว (ปีที่แล้วเลย) ว่าจะแนะนำให้รู้จักภาษาโครงสร้างใหม่ XHTML Basic 1.1 สำหรับ การทำเวปในส่วนของ mobile device นั้นบัดนี้ได้เพลาพอปลีกตัวพอหายใจได้ขยับขยายผายปอด ผายลม ออกมาแรด ๆ หายใจทิ้งทำนั่นทำนี่ได้หน่อย ก่อนจะเข้าสู่ห้วงยุ่งอีกครั้ง ก็ขอบ่น ๆ ไว้สักหน่อย สักบทความ

ผมขออนุญาติไม่พูดเรื่องวิธีการออกแบบ GUI ในการทำเวปสำหรับ mobile device ผมมีความเชื่อว่าถ้าเราเข้าใจธรรมชาติของโครงสร้าง และ ตัวกำหนดการแสดงผล layout แล้วมันจะทำให้เราเข้าใจว่าเราจะต้อง ออกแบบ GUI ออกมาอย่างไรให้เหมาะสมกับธรรมชาติของภาษาโครงสร้าง และ ตัวกำหนดการแสดงผลนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดีจากนั้นชีวิตก็มีความสุข แล้ว (ถ้าใครที่ทำงานบริษัท ที่อยู่ในอุตสาหกรรม website งานต่อไปหลังจากออกแบบ GUI ก็คงจะเป็นการตรวจสอบว่าตรงกับแผนพัฒนา เศรษฐกิจ และ ผลิตภัณฑ์ หรือไม่) เริ่มเรื่องกันเลยดีกว่า

องค์ความรู้เดิมที่สามารถนำมาใช้

XHTML Basic นั้นเป็น subset ของ XHTML เพราะฉะนั้นถ้าคุณมีความรู้เกี่ยวการใช้งาน XHTML อยู่แล้วคุณก็สามารถเริ่มต้นไปได้รวดเร็วในทันที สิ่งใหม่ ๆ ที่ควรจะต้องจำคงจะเป็นการประกาศค่าต่าง ๆ เบื้องต้นของเอกสาร .html ที่จะถูกเขียนโครงสร้างด้วย XHTML Basic ว่ามีอะไรให้ต้องใช้ และ ประกาศก่อนเริ่มการทำงานบ้าง

รูปแบบของ เอกสาร .html ที่เขียนด้วย XHTML Basic:

<!--?xml version="1.0" encoding="utf-8"?-->

จะเห็นได้ว่ายังคงความเป็นโครงสร้างเดิมไว้ เป็นโครงร่างมาตรฐาน แตกต่างกันที่การประกาศ DTD เท่านั้น อีกทั้งยังสามารถทำงานเป็น XML เต็มคราบ โดยเราสามารถประกาศ content type เป็น application/xhtml+xml (ไม่ใช่ text/html นะครับ) เพื่อทดสอบ หรือ ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิผล

XHTML Module ที่เหมือนกัน และ สามารถนำมาใช้ได้ใน XHTML Basic

Structure Module ได้แก่

html, head, title, body

Text Module ได้แก่

abbr, acronym, address, blockquote, br, cite, code, dfn, div, em, h1, h2, h3, h4, h5, h6, kbd, p, pre, q, samp, span, strong, var

Hypertext Module ได้แก่

a

Base Module ได้แก่

base

Intrinsic Events Module ได้แก่

onblur, onfocus, onload, onunload, onreset, onsubmit, onchange

ซึ่งใน part ของ Moduel เหล่านี้จะมีเพียง full HTML Mobile Web Browser เท่านั้นที่สนับสนุน เช่น Opera MiNi, iPhone WebKit

Scripting Module ได้แก่

script, noscript

Style Attribute ได้แก่

style

Target Module ได้แก่

target

คุณจะเห็นว่า tag เดิม ๆ ใน XHTML นั้นสามารถนำมาใช้ได้ใน XHTML Basic ได้เกือบทั้งหมด (ก็ว่าได้) และ อีกหลาย feature ที่เพิ่มเข้ามาอีกเพื่อการทำงานร่วมกับ mobile device ได้มีประสิทธิภาพ ครั้งหน้าผมจะมากล่าวถึง tag ที่ XHTML Basic นั้นไม่สนับสนุน และ feature ใหม่ ๆ ที่เพิ่มเข้ามาใน XHTML Basic ครับ

วันนี้ขอเอวังไปก่อน เพราะผมหันออกไปมองท้องฟ้านั้นสิ้นแสงตะวันเสียแล้ว เป็นอีกวันที่ผมได้กลิ่นอายเดิม ๆ แห่งชีวิต หากแต่ไม่ได้อยู่ที่เดิม เวลาเดิมเพียงเท่านั้น … ขอบคุณเพื่อน ๆ ทุกคน โดยเฉพาะ พร และ โบ๊ท ที่ไม่ค่อยพบหน้าแต่ว่า โทรมาเสมอ ขอบคุณประเทศไทย ที่ยังคงดำเนินไปแบบ งง งง อยู่ … สวัสดี

Back to Top

One Response to รู้จัก XHTML Basic 1.1 (ตอนที่ 2)

Leave a Reply to gooaood Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Back to Top