Semantic Web พูดกันทุกทาง อย่างมีความหมาย (1)

  1. ถ้าคุณเขียนโค้ดถูก แต่บราวเซอร์แสดงผลเพี้ยน แสดงว่าบราวเซอร์ มีปัญหา
  2. ถ้าคุณเขียนโค้ดผิด แต่บราวเซอร์ยังแสดงผลถูกต้อง นั่นแสดงว่า ทั้งตัวคุณ ทั้งบราวเซอร์ ต่างก็มีปัญหา

สองข้อด้านบน เป็นประโยคที่อธิบายลักษณะ การทำงานของเว็บดีไซเนอร์ได้อย่างน่าขันดี แต่หลายคนอาจจะไม่ขำกับผมด้วยเป็นแน่แท้ เพราะส่วนใหญ่อยู่ที่ข้อสาม คือ ไม่รู้ว่าตัวเอง เขียนโค้ดถูก หรือผิด เลยไม่รู้ว่า บราวเซอร์ แสดงผลถูกหรือผิดในความเป็นจริง แต่ในเชิงประจักษ์ทางสายตา เรายังเห็นการแสดงผลที่เพี้ยนบ้างพออภัย

หลายคนคงหงุดหงิดไม่น้อย ที่ช่วงหลังๆ เข้ามาที่ไทยซีเอสเอส แล้วเจอแต่เรื่องราวประหลาด ไม่ค่อยมีบทความเกี่ยวกับการเขียน CSS เลย มีแต่เรื่องบ้าบอคอแตก อะไรก็ไม่รู้ คำก็ Web Standards สองคำ ก็ ทำเว็บให้ได้มาตรฐาน สามคำก็ พาไปเขียน XHTML แล้วเรื่องราวของ CSS หละ อยากเห็น อยากเจอ

วันนี้ ผมมีตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ สำหรับคนที่หลงทางเสียเวลา หลงภาพมายา เสียเวลามากกว่า มานำเสนอครับพี่น้อง เป็นเรื่องราวของการเขียน CSS XHTML แบบ ผิดๆ แต่แสดงผลถูกต้องและตรวจผ่านมาตรฐาน W3C แต่ไร้ความหมายของรูปแบบกระบวนความของ Semantic Web เป็นเรื่องราวที่หลายคนยังงุนงงกันอยู่ว่า แท้ที่จริงแล้วมันต่างกันตรงไหน ระหว่างเรื่องราวทั้งหมด เพราะว่า เพียงแค่ทำเว็บโดยไม่ใช้ ตาราง (table) นั้นก็ยากเต็มทนแล้ว กว่าหน้าเว็บจะเป็น div ได้ ก็แทบจะบ้าตาย ยังต้องมารับรู้เรื่องราวพวกนี้อีกนั่นหรือ

คำตอบคือ ใช่ครับ

ตัวอย่างต่อไปนี้ผมจะเขียนให้เห็นถึง การเขียน CSS XHTML แบบ ผิดๆ แต่แสดงผลถูกต้องและตรวจผ่านมาตรฐาน W3C แต่ ไร้ความหมาย (1) และความแตกต่างระหว่างเรื่องที่ผิด และเรื่องที่ถูกต้อง (2) โดย จะเขียนหน้าเว็บขึ้นมาหนึ่งหน้า แบ่งเป็นสามส่วน Header, Content, Footer และแบ่งออกเป็น 2 คอลัมน์ พร้อมทั้งมีเนื้อหาบ้างเล็กน้อยพอเป็นยา

จากโค้ดต่อไปนี้ ให้ทุกท่านสังเกตดูว่า แต่ละบรรทัด มันถูกต้องหรือ ผิดเพี้ยนประการใด ไม่ต้องถึงขั้นทุกกระเบียดนิ้ว เพราะเพียงอยากให้มีช่องว่างพอได้ ถกเถียง หายใจกัน

หมายเหตุ ขอให้มองข้ามเรื่องราวของ CSS ไปก่อน เจาะจงเฉพาะ XHTML ครับ

ตัวอย่างที่ 1 ขอให้ทุกท่านดูหน้าเว็บตัวอย่างนี้

นั่นแหละครับคือตัวอย่างง่ายๆ แล้วก่อนที่จะขึ้นบทความในหัวข้อต่อไป เรามาสนทนากันก่อนนะครับว่า ตามตัวอย่างนั้น มีจุดไหนที่ ผิดเพี้ยนไป ตามขบวนการของหลัก Semantic Web บ้าง

เชิญครับ แล้วเราค่อยมาต่อกับบทขยายส่วนต่อไป

Back to Top

13 Responses to Semantic Web พูดกันทุกทาง อย่างมีความหมาย (1)

Leave a Reply to daclubb Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Back to Top