Float ตอนที่ 1

Floatting หรือการจับ element(s) ให้อยู่ชิดซ้าย ชิดขวา หรืออยู่ตรงกลาง ด้วยคำสั่ง float: left;, float: right; และ float: none;

ในการทำเว็บแบบ tableless นั่น การใช้ float เพื่อควบคุม div tag เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ในการวางเลเอ๊าท์ให้กับหน้าเว็บเพจ เช่นการวางหน้าเว็บแบบ 3 คอลัมน์ โดยการสั่ง div tags เป็น float: left; ทั้งหมด ซึ่งถ้าหากเราต้องการจัดกลางหน้าเว็บ ด้วยการให้ div tag ซึ่งเป็น ตัวหลัก ครอบทั้ง 3 อันนี้ไว้ ต้องให้ค่า div หลักอันนั้นมี float เป็น none เป็นต้น

มาดูตัวอย่างการใช้ floats กับ div tags กันครับ ซึ่งมีข้อแม้เล็กๆ น้อยๆ ว่า กรณีที่ท่านได้ให้ค่า float ต่อ element(s) ใดๆ แล้ว ควร กำหนดความกว้างให้ element(s) เข้าไปด้วยนั่นเองครับ

1. div tag 1 ชิ้น ให้ค่า float ต่างกัน 3 แบบ

CSS

#float1 {
width: 200px;
height: 200px;
position: relative;
float: none;
background: #CCCCCC;
margin: 0 auto;
}
#float2 {
width: 200px;
height: 200px;
position: relative;
float: left;
background: #FF9900;
}
#float3 {
width: 200px;
height: 200px;
position: relative;
float: right;
background: #0066CC;
}

XHTML

<div id=”float1″>
<h1>#float1 : float none</h1>
</div>
<div id=”float2″>
<h1>#float2 : float left</h1>
</div>
<div id=”float3″>
<h1>#float3 : float right</h1>
</div>

หมายเหตุ ในกรณีที่เราต้องการให้ div จัดอยู่ตรงกลางด้วยการให้ค่า float เป็น none อย่าลืมเพิ่มค่า margin ของ left และ right ให้เป็น auto ด้วยนะครับ หลายท่านอาจจะด่าผมว่า สร้าง div มาแล้ว ไม่เห็นจัดกลางมันได้เลย ทั้งๆ ที่ กำหนด float ให้เป็น none ตามตัวอย่างแล้ว

Back to Top

6 Responses to Float ตอนที่ 1

Leave a Reply to มือใหม่ Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Back to Top