วิวัฒน์ของเว็บ ณ คศ. 2009

กลับมาแล้ว :) ต้องขอโทษที่หายไปนานครับผม แต่สำหรับคนที่ follow ผมที่ Twitter หรือ อยู่ใน Facebook คงได้เห็นผม re-tweet หรือ share link บทความคนอื่นที่คิดว่าเป็นประโยชน์ให้อ่านอยู่นานนม เวลาในชีวิตมันคับแคบอึดอัดไปหน่อยต้องขออภัยมา ณ​ ที่นี้ด้วยนะครับ ช่วงที่หายไปก็ไปขุดคุ้ยทำงาน หมกมุ่นอยู่กับเทคโนโลยีที่มันผุดขึ้นมาใหม่ แล้วก็กระแส User Experience พิวัฒน์ในโลกกว้างทำให้ศาสตร์ต่าง ๆ เริ่ม ๆ เกิดขึ้นมาใหม่ หรือ บางอย่างที่มีมานานนมแล้วแต่ยังไม่ได้ บัญญัติ จำกัดความไว้ ก็ได้คำบัญัติ จำกัดความกันเสียที วันนี้ผมก็มาเขียนข่าว เชิงบ่น เป็น guideline แจ้งแถลงให้ได้รับรู้ว่าเราขยับกันไปที่ไหนกันได้บ้างแล้ว

ในสายงานการผลิตผมก็ขอพูดเต็ม ๆ ปากเสียทีว่า ขอต้อนรับเข้าสู่โลกของการทำงานเชิงวัตถุ จากที่ผมได้พูดคุย ถกปัญหา และ วิเคราะห์ร่วมกับพร (@pornAntha) เมื่อ W3C ได้ประกาศเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะใช้กับ www มาเรื่อย ๆ เช่น EmotionML, HTML5 และ CSS3 จะเห็นได้ว่ามันเริ่มจะยาก และ ลงลึก และ ทำงานได้ละเอียดลึกซึ้งเชื่อมกันเป็นทอด ๆ ต่อไปนี้เราจะทำงานแยกเป็น unit กันชัดเจนมากขึ้นเพราะเทคโนโลยีบนโลก www นั้นเริ่มลึกซึ้งกันไปเรื่อย ๆ ยอดมนุษย์ (ในที่นี่ผมหมายถึง all in one people หรือ generalist) จะเริ่มลดลงคุณจะเห็นว่าหลาย ๆ บริษัทเริ่มที่จะทำงานแยกสัดส่วนกันชัดเจนแล้ว (ผมขอกล่าวถึงแต่อาชีพใหม่ และ อาชีพที่ต้อง update นะครับ) เช่น

  • Web Designer / Web Usability Designer ก็จะออกแบบ website, usability และ ทำ user experience strategic ให้ออกมาเป็นสิ่งที่จับต้องได้จริง ๆ ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการนำ Grid Base Development มาใช้งานด้วยจะทำให้งานวางโครงสร้างง่ายขึ้นไปด้วยครับ อีกทั้งการ sketch wireframing ที่ดีด้วย เพราะจะช่วยให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันหมดเมื่อทำการ ประชุมหา framework ในการทำงานของแต่ละส่วน ก่อนลงมีดผลิตผลิตภัณฑ์ (website)ออกมา
  • Web Structural Designer / Web Accessibility Designer สายงานนี้จะสายงานย่อยลงไป จะดูแลในส่วนของ front-end development เป็นส่วนใหญ่ดูแลการออกแบบ ควบคุมการแสดงผลของโครงสร้างหน้าบ้านทั้งหมด ใช่ครับรวมไปถึงพวก JavaScript ต่าง ๆ ด้วย มนุษย์พวกนี้น่าจะอยู่ก้ำกึ่งระหว่าง Creative และ Logistic
    • HTML Structural Designer ทำหน้าที่ออกแบบโครงสร้าง content ให้เป็นไปตาม Content Strategy เพราะฉะนั้นผู้ที่ได้รับหน้าที่นี้จะเป็นคนดูแลทั้งหมดในส่วนที่จะกำหนด ความสำคัญ (priority) ให้กับเนื้อหา การตั้งชื่อ attribute ต่าง ๆ เช่น id และ class ตลอดจนถึง attribute อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Accessibility ต่าง ๆ เพื่อการจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ระเบียบ ร่วมกับ Content Strategist (นักวางกลยุทธเนื้อหา) หรือ ถ้าท่านใดมีความสามารถเรื่อง วิเคราะห์ วางแผนกลยุทธให้เนื้อหาได้ ก็รวบเป็นคนเดียวไปเลย ผมเคยนึกเล่น ๆ ว่าถ้า นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักวารสารศาสตร์ / ภาษาศาสตร์ เขียน (x)HTML เป็น เรื่อง SEO เราคงสู้ไม่ได้แน่ และ ล่าสุดก็ได้ยินมาว่าหนังสือพิมพ์ชื่อดังฉบับหนึ่งจ้าง นักภาษาศาสตร์มาควบคุม ช่วยออกแบบโครงสร้างเนื้อหาให้กับ website ของหนังสือพิมพ์แห่งนั้น (โลกมันเริ่มสนุกขึ้นเรื่อย ๆ แล้วใช่ไหมครับ?)
    • CSS Designer จัดโครงสร้างร่วมกับ HTML Structural Designer กำหนด selector ของ CSS ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับโครงสร้างที่ได้ออกแบบมาโดย HTML Structural Designer รวมไปถึงร่วมกันออกแบบ framework ของงานในแต่ละ project ร่วมกับทุกท่าน (ในความคิดของผม CSS framework ควรจะขึ้นอยู่กับตัวโปรเจคแต่ละตัวมากกว่านะครับ เพราะถ้าคุณใช้ CSS framework สำเร็จรูปในทุก ๆ project มองในแง่เนื้อหา และ การเข้าถึงได้ผมว่าไม่เหมาะเป็นอย่างยิ่ง)
  • Programmer เป็นผู้กำหนดโครงสร้างของระบบ รวมไปถึงช่วยวิเคราะห์กลยุทธ์เนื้อหา และ โครงสร้างข้อมูลร่วมกับคนอื่น ๆ ด้วยเป็นหัวใจสำคัญของแต่ละ project ส่วนใหญ่ในปัจจุบันชนกลุ่มนี้จะเป็น ธาตุกลาง สามารถไหล และ ใช้งานได้ทุกภาษาไม่ว่าจะเป็น Java, PHP, ASP.Net, Python, Ruby หรือ อื่น ๆ อีกมากมาย เมื่อกล้าแข็งก็จะขยับไปเป็น Information Architecture แต่ก็ต้องฝึกวิชาการตลาด และ ความเข้าใจของอีกฝั่งด้วย (ใช่ครับผมกำลังหมายถึง คนเหล่านี้ Content Strategic, Web Accessibility Designer และ Web Usability Designer)
  • Information Architecture ตรงนี้ผมมองเห็นว่ามันน่าจะเป็น Director ในปัจจุบันครับ หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมาย ชนกลุ่มนี้หูตาต้องกว้างไกลหน่อยนะครับต้องรู้หลายอย่างแต่ถ้ามาจากสาย Programmer แล้วเข้าใจในเรื่องอื่น ๆ ด้วยผมคิดว่าจะเข้มแข็งมากในเรื่องนี้ บางที่อาจจะไม่ใช้คำคำนี้โดยตรง เพราะอาจจะมาในหลายแง่ เช่น แง่เนื้อหา แง่การเข้าถึงได้ หรือ แง่การใช้งานเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งอาจจะเป็น Director ของแต่ละส่วนมารวม idea กันก็ได้ หรือ จะแยกกันวิเคราะห์กันในแนวทางของแต่ละคนแล้วมาประชุมสุมหัวกัน คำคำนี้ก็จะกลายเป็นขั้นตอนในการทำงานไปโดยปริยายได้เช่นกัน ถ้าพูดในแง่ขั้นตอนในการทำงาน ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนแรกสุดเลยก่อนที่จะมุ่งไปหาขั้นตอนอื่น ๆ
  • Web Master / Usability Tester and Researcher คศ. นี้คงต้องมุ่งไปที่แง่เนื้อหามากขึ้น และ เป็นเหมือนนักวิเคราะห์วิจับ คอยเก็บข้อมูลวิเคราะห์การใช้งานของ user เพื่อรวบรวมสิ่งต่าง ๆ มาเข้าระบบวิเคราะห์ บำรุงรักษา แก้ไข หรือ พัฒนาผลิตภัณฑ์ (website)ใหม่ ๆ ต่อไป ปล. ไม่มีหน้าที่ทำงานเช้าชามเย็นชาม แก้นั่นแก้นี่ ขายผ้าเอาหน้ารอดอีกแล้ว เพราะควรจะแจ้งแก้ไข ปะผุไปยังทีมที่เกี่ยวข้องโดยตรง
  • Tester แยกตามสายงานได้เลยทันที ชนกลุ่มนี้จะไม่เหมือน Web Master นะครับ จะแยกกันตรวจสอบควบคุมคุณภาพตามสายงานของตนเอง เช่น ทดสอบ Usability ของอะไร, Interface ที่ติดต่อกับ User หน้าบ้านหลังบ้าน, ประสิทธิภาพการทำงานของ code ต่าง ๆ และ ระบบต่าง ๆ ทั้งนี้ควรจะมีไว้ หรือ ให้คนในทีมที่ทำงานคนละ project มาสลับกันเป็น Tester ก็ได้ครับผม ปัจจุบันผมขออนุญาติบอกย้ำคำพูดของพี่หนุ่ม (@zyracuze แห่ง welovebug) อีกครั้งว่า การตรวจสอบ ทดสอบ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ (website)ต้องทำในทุกขั้นตอนการผลิตนะครับ ไม่ใช่หลังจากที่ product สร้างเสร็จทั้งหมดแล้วเวลาเดียว คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ welovebug ได้เลยนะครับ
  • Content Strategist เป็นผู้วางแผนกลยุทธเนื้อหาให้กับ website อาจจะอยู่ในตัว HTML Structural Designer ก็ได้ หรือ เป็นงานของ Web Master หรือ ผู้วางแผนการตลาด/คิดค้นผลิตภัณฑ์ (website) online ก็ได้ ชนกลุ่มนี้จะวางโครงสร้างของ content เช่น ใครเป็นคนทำเนื้อหา, แล้วมีเนื้อหาไปเพื่อใคร, โครงสร้าง meta content เป็นยังไง?, มีเนื้อหาอะไรอยู่ อะไรที่ต้องทิ้ง อะไรที่ต้องแก้ อะไรที่ต้องเพิ่ม, เนื้อหาเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ (website)แค่ไหน, วงจรชีวิตของเนื้อหาที่ต้องอยู่ในตัวผลิตภัณฑ์ (website) ชนกลุ่มนี้จะจัดการไปถึงการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของเนื้อหา กับ เนื้อหาต่าง ๆ ในตัว website ด้วย ผมจะอธิบายโดยละเอียดอีกครั้งในบทความที่จะ update ตามหลังกันมานี้ครับ

ทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ในแวดวงอาชีพของเราเท่าที่ผมได้เห็น และ พยายามตีกรอบมาสรุปให้ฟังครับ ถ้าขาดตกอะไร ผมต้องขออภัยไว้ด้วยครับ และ อยากให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็น หรือ แบ่งปัน update กันและกันครับผม

สวัสดี

Back to Top

11 Responses to วิวัฒน์ของเว็บ ณ คศ. 2009

Leave a Reply to tumlor Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Back to Top