ชีวิต Front-End ไม่ได้ง่าย แต่ก็ไม่มีใครบอกว่ามันยาก

นี่มันหมดยุคของคำว่า CSS Designer แล้วหรือเยี่ยงไร สี่ห้าปีที่ผ่านมายังเป็นคำฮิตกันอยู่เลย นั่นน่ะสิ ก็เราอยู่กับโลกของเว็บเทคโนโลยีที่อะไรต่อมิอะไรเปลี่ยนกันได้ทุกวี่ทุกวัน

ยังจำกันได้ไหมสมัยเก่าที่เรายังนั่งใช้ image ready ตัด HTML และ CSS ออกมาจาก Adobe Photoshop แล้วก็ส่งต่อหน้าเว็บไปให้ Programer จัดการ ถัดมาไม่นานเราก็เริ่มมีมนุษย์จำพวกเขียน div เข้ามาแทน ดริ๊ฟท์กันกระจายกลายเป็นเมืองแห่ง div ถือได้ว่าเฟื่องฟูครับ เฟื่องฟูมากกับการรับตัดหน้าเว็บด้วย div ราคาหน้าละสามร้อยห้าสิบบาท เรียกได้ว่าวงการสั่นสะเทือนเลือนลั่น พร้อมๆ กับการย้อมแมวว่าเขียน div แล้ว SEO มากันเพียบแน่นอน Google เจอเราภายใน 800 มิลลิเซคคั่น

ซึ่งมันก็จริงดังว่า หลายคนก็ร่ำรวยกันไปกับการเลือกทางเดินสาย SEO ส่วนพวกที่ยังรับจ๊อบ PSD to HTML ก็ยังใส้แห้งกันต่อ

เดือนกรกฎา เป็นเดือนครบรอบวันเกิด ThaiCSS ซึ่งปีนี้เดินทางมาครบ 8 ปี ในแต่ละวันผมก็ได้เฝ้านอนฝันว่าตัวเองจะเขียนบทความใหม่ๆ ออกมาอย่างสม่ำเสมอ แต่มันก็ยังเหมือนเดิมเพราะว่าสุดท้ายแล้วทุกวันนี้ ด้วยความรู้สึกส่วนตัวผมแทบไม่มีความรู้อะไรใหม่ๆ จะเอามาเล่าสู่กันฟัง จะมาคุยเรื่องเทคนิคการเขียน HTML CSS เหมือนเดิมมันก็ไม่ได้แล้ว เพราะไม่ได้ใช้ชีวิตกับมันเหมือนเมื่อก่อน ทำให้ตัวเองกระดากอายที่จะเขียนออกไป (เลยเอาเวลาส่วนใหญ่ไปแดกเบียร์)

แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ผมอยากจะเอามาเป็นประเด็นสนทนา ซึ่งตั้งแต่นั่งคอยสังเกตมาสักพักใหญ่ๆ แล้ว

CSS Designer ตายแล้ว?

ถ้าคำกล่าวนี้เป็นจริงก็คงมี่คนตกงานไม่น้อยหากไม่ยอมปรับตัว แต่ก่อนอื่น ก่อนที่เราจะเอะอะโวยวายก็ต้องขอเวลามานั่งตีความคำว่า CSS Designer กันก่อนว่า จากอดีตถึงปัจจุบัน Scope งานของเรามันอยู่ที่ไหนกันบ้าง ถ้าหากยึดเอาสมัยสี่ห้าปีที่ผ่านมาเป็นบรรทัดฐานงานที่ต้องทำก็มีแค่

  1. แปลงไฟล์ PSD เป็น HTML ด้วยการเขียน CSS ไปสั่งงาน HTML ให้แสดงผลให้ถูกต้องตามแบบฉบับของ Design ที่เขาให้มา
  2. ทำทุกอย่างเหมือนข้อหนึ่ง แต่เพิ่มตรงที่รู้ว่าข้างนอกนั่นเขามี CSS Framework อะไรบ้าง และสามารถเขียน JavaScript ได้ด้วย พร้อมทั้งมีความเข้าใจ JavaScript Framework ทั้งหลายและสามารถเลือกใช้ได้อย่างถูกต้อง
  3. ทำทุกอย่างเหมือนข้อหนึ่งและสอง แต่เพิ่มความสามารถด้าน HTML5 เข้ามา สามารถเรียกใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสามารถอธิบายได้ว่าเพราะอะไรจึงเลือกใช้แบบนี้

ถ้าคูณสามารถทำได้เฉพาะข้อที่ 1 คุณก็ถือว่าเป็นคนเขียน CSS ที่สามารถหาได้ตามสนามหลวงรอวันเฉาตายไปกับการเวลา แต่ถ้าคุณทำได้แบบข้อสอง นั่นแสดงว่าคุณกำลังผลิใบ พร้อมที่จะเรียนรู้โลกในชั้นประถามต่อไป ถ้าคุณมาถึงข้อสาม เรายินดีด้วยคุณมีความพร้อมที่จะสอบเข้าชั้นมัธยมที่ 1 แล้ว

แล้วทุกวันนี้ต้องเป็นยังไงถึงจะเรียกว่าเก่ง

ไม่จำเป็นต้องเก่งอย่างที่คนอื่นเขาว่าไว้ อย่าลืมว่าไม่มีใครต้องการคนเก่งอย่างเดียวครับ เขาต้องการแค่ “มืออาชีพ” ผมคนหนึ่งก็เคยเป็นคนที่ไม่เป็น “มืออาชีพ” หรือ โปรเฟสชั่นนอลมาก่อน พูดคำว่ามาก่อนแต่ไม่ได้หมายความทุกวันนี้ผมเป็น “มืออาชีพ” กำลังอยู่ในช่วงพยายามให้ดีที่สุด (ความเจ็บปวดเมื่อครั้งอดีตคอยสอนและเป็นสิ่งเตือนใจเราเสมอ) สิ่งที่ทุกคนต้องการในการทำงานร่วมกันคือความเข้ากันได้ หลายคนเทพมากในการเขียน CSS จัดเต็มมาทุกอย่าง แต่เมื่อถึงเวลาเอาไปใช้งานจริงแล้วดันมีปัญหาตอนเอาไปรวมกับโค้ดโปรแกรม หรือสักแต่ด่าโปรแกรมเมอร์อย่างเดียวว่าทำงานของตัวเองพัง แต่ไม่เคยเข้าไปช่วยเขาแก้ไข “กูถามหน่อยครับถ้าโปรแกรมเมอร์มันทำได้ทั้งสองอย่าง เขาจะจ้างมึงมาทำเสาไฟฟ้าอะไร ทั้งที่จริงแล้วควรมานั่งปรึกษากันเพื่อหาทางออกว่าเราควรที่จะแก้ไข ป้องกันปัญหานี้ในคราวต่อไปยังไง เพราะเงินเดือนที่มึงได้น่ะมันรวมเรื่องนี้เข้าไปด้วย” นั่นคือบทเริ่มต้น

สำหรับคนที่ยังอยู่ในข้อที่ 1 และไม่พร้อมที่จะหาความรู้อื่นๆ เพื่อตามเทคโนโลยีอื่นๆ บอกคำเดียว “ขอให้โชคดีครับ”

Front-End Developer อัศวินม้าขาว

หน้าบ้านน่ามอง ถือเป็นคำกล่าวที่ฟังดูไม่เกินเลยสำหรับชีวิตมนุษย์ Web Front-End ผู้ซึ่งต้องมีความรู้ตั้งแต่ CSS HTML JavaScript พร้อมทั้งภาษาโปรแกรมมิ่งอีกอย่างน้อยสองสามภาษา เข้าใจหลังการ MVC และระบบ Template ต่างๆ ถ้าสามารถใช้ Photoshop ได้นี่ถือเป็นโบนัสได้เลย

ทุกวันนี้มีโปรแกรมเมอร์หลายคนผันตัวเองมาเรียนรู้การเป็น Front-end Developer เพิ่มเติม เพราะโลกของการเขียนโปรแกรมยุคใหม่เขาไม่ค่อยยึดติดกับภาษา เขียนเป็น Service แยกกันออกไป ทำเป็น API เรียกเอาทีหลัง

เป็นมนุษย์ WordPress Joomla Drupal ก็สนุกดีไปอีกแบบ นี่คือข้อได้เปรียบอีกอย่างของคนที่เดินทางมาสาย Developer แล้วผันตัวเองมาทำ Front-End ทำให้การทำความเข้าใจหลักการของ CMS นั้นไม่ใช่เรื่องยาก หากินได้ไม่ลำบาก รู้ว่าต้องเขียน Function เพิ่มเติมตรงไหน จัดการยังไงได้ในเวลาอันรวดเร็ว สามารถรับทำเว็บไซท์ให้ อบต. ได้ในราคา 4-7 พันบาทและเพื่อนๆ ในวงการคนอื่นๆ ก็ตายกันระนาว

สำหรับ Front-End Developer แล้ว ถ้าคุณสามารถ SASS LESS SCSS ได้ด้วยคุณจะหล่อมากครับ สำหรับเว็บไซท์ขนาดเล็กๆ หรือเว็บไซท์ที่ทำจบโปรเจ็คแล้วก็ขายชีวิตคุณสบาย

แต่ถ้าต้องพูดถึงเว็บไซท์ที่โครงสร้างเว็บขนาดใหญ่ ที่ต้องทำไปเรื่อยๆ จะหยุดทำก็ต่อเมื่อตายหรือไม่ก็ลาออกเนี่ย ความสามารถที่กล่าวมาในข้างต้นยังคงไม่เพียงพอต่อความอยู่รอด คุณต้องก้าวสู่การเป็น Front-end ในระดับต่อไป

CSS LESS

Front-End Engineer

ส่วนสุดท้ายและท่าไม้ตายที่ตลาดกำลังขาดแคลนอย่างยิ่งซึ่งต้องใช้ทั้งความคิดสร้างสรรค์ ความขยันอ่าน หมั่นหาความรู้ใหม่ๆ พร้อมที่จะพังทลายกำแพงแห่งขนบเก่าๆ ทิ้งไป

แต่ผมขอทิ้งค้างไว้แค่นี้ก่อน ขอไปเรียบเรียงรายละเอียดต่างๆ ออกมาเป็นข้อๆ อย่างถี่ถ้วนพร้อมทั้งถอนเบียร์เย็นๆ สักสองสามป๋องแล้วเดี๋ยวกลับมาต่อกันเรื่อง Engineering Front-End กัน

มีความสุบกับการใช้ชีวิตครับ

Back to Top

3 Responses to ชีวิต Front-End ไม่ได้ง่าย แต่ก็ไม่มีใครบอกว่ามันยาก

Leave a Reply to Apichai Densamut Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Back to Top